วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดา์ห์ที่ 3




หนังสือประเภทนี้จัดพิมพ์เป็นรายปี รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์
บุคคลสำคัญและความก้าวหน้าของวิทยาการสาขาต่างๆในรอบปีที่ป่านมาเสนอข้อความสั้นๆในรูปของทำเนียบนาม ตารางสถิติและปฎิทินเหตุการณ์
3.1 ประเภทของหนังสือรายปี แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
3.1.1 หนังสือรายปีทั่วไป (General yearbook)
(1)หนังสือรายปีสารานุกรม (Encyclopedia yearbook)เป็นหนังสือรายปีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมเนื้อหาของสารานุกรมชุดแม่ ให้มีเนื้อหาทันสมัยอยู่เสมอ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษร เช่น Gollier's Year Book เสริมสารานุกรมชุดแม่ คือ Gollier's Encyclopedia เป็นต้น
(2)หนังสือรายปีสรุปข่าวปัจจุบัน (News Summary) ทำหน้าที่เป็นจดหมายเหตุบันทึกเหตุการณ์สำคัญด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยประมวลจากข่าวประจำวัน ตรวจสอบความถูกต้องแล้วเสนอในรูปสรุปความ ออกเป็นวารสารรายสัปดาห์ มีแฟ้มจัดเก็บและดรรชนีสำหรับค้นเนื้อเรื่องโดยละเอียด ตัวอย่างเช่น สยามจดหมายเหตุ เป็นต้น
(3)สมพัตสร (Almanac) เสนอความรู้เบ็ดเตล็ดต่างๆซึ่งเป็นข้อเท็จจริงในเรื่องทั่วๆไปอย่างสั้นๆ เหตุการณ์ในรอบปีที่ผ่านมา เรื่องราวขอประเทศต่างๆ ภัยพิบัติ สภาพภูมิศาสตร์เด่นๆ เสนอความรู้ในรูปของปฏิทินเหตุการณ์ ตารางสถิติ ทำเนียบนาม และพรรณนาความ สถติต่างๆ เชื่อถือได้เพราะมีแหล่งอ้างอิง เช่น สยามออลมาแนค และ World Almanac and Book of Facts เป็นต้น
3.1.2 หนังสือรายงานประจำปี (Subject records of progress) เป็นหนังสือรายปี ที่สมาคมทางวิชาการ องค์การ และหน่วยงานต่างๆ จัดทำเพื่อเสนอความห้าวหน้าทางวิชาการ ที่เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยของหน่วยงาน และรวมถึงการรายงานผลการปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมของหน่วยงานด้วย ได้แก่ หนังสือรายงานประจำปีของหน่วยราชการต่างๆ (อ่านต่อ...)

ที่มา : http://www.lib.buu.ac.th/tutorial/ref/index4_3.html

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2

สารานุกรม ( Encyclopedias) คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้อันเป็นพื้นฐานในทุกสาขาวิชาหรือรวบรวมความรู้ใน สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะแล้วนำมาเรียบเรียงไว้ตามลำดับอักษร เหมาะสมที่จะทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ความรู้ที่ได้จากหนังสือสารานุกรม ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือสูงได้ทันที

หัวข้อ
  • ประเภทของสารานุกรม
ประเภทของสารานุกรม

การแบ่งประเภทของสารานุกรมนั้นสามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. การแบ่งประเภทของสารานุกรมตามขอบเขตของเนื้อหาวิชา
การแบ่งในลักษณะนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารานุกรมทั่วไปและสารานุกรมเฉพาะวิชา
1.1 สารานุกรมทั่วไป (Gerneral Encyclopedias)
สารานุกรมทั่วไป ได้แก่ สารานุกรมที่รวบรวมความรู้ทุกแขนงวิชา มีทั้งให้ข้อมูลอย่างละเอียดและอย่างสังเขป อธิบายเรื่องราวเพื่อเป็นพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ทุกแขนงของมวลมนุษย์ นับตั้งแต่โบราณกาลจนกระทั่งปัจจุบัน
1.2 สารานุกรมเฉพาะวิชา ( Subject Encyclopedias)
สารานุกรมเฉพาะวิชา ได้แก่สารานุกรมที่รวบรวมความรู้วิชาใดวิชาหนึ่ง หรือรวบรวมเรื่องราวแขนงใดแขนงหนึ่งโดยเฉพาะอธิบายเรื่องราวละเอียดลึกซึ้ง กว่าสารานุกรมทั่วไป

2. การแบ่งประเภทของสารานุกรมตามระดับอายุการใช้
การแบ่งประเภทของสารานุกรม ในลักษณะนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารานุกรมสำหรับเยาวชน และสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่
2.1 สารานุกรมสำหรับเยาวชน (Encyclopedias for Children and Young Adults)
สารานุกรมสำหรับเยาวชนเป็นสารานุกรมที่จัดทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายจะเสนอ เรื่องราวในสาขาวิชาความรู้ต่างๆ โดยการอธิบายเนื้อหาวิชาโดยสังเขป ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บทความมีขนาดกะทัดรัดจบสมบูรณ์ในตัวเอง มีภาพประกอบเป็นจำนวนมาก สารานุกรมสำหรับเยาวชนมีทั้งสารานุกรมทั่วไปและสารานุกรมเฉพาะวิชา
2.2 สารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่ (Encyclopedias for Adult)
สารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่ คือ สารานุกรมที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ให้ข้อมูลที่ละเอียดและลึกซึ้งกว่าสารานุกรมสำหรับเยาวชน ใช้ภาษาที่ยากและเป็นวิชาการ บทความมักจะมีขนาดยาวเพื่อครอบคลุมเนื้อหาวิชาอย่างกว้างขวาง สารานุกรมประเภทนี้มีทั้งสารานุกรมทั่วไป และสารานุกรมเฉพาะวิชา

3. การแบ่งประเภทของสารานุกรมตามจำนวนเล่ม
การแบ่งสารานุกรมในลักษณะนี้สามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารานุกรมหลายเล่มจบ และสารานุกรมเล่มเดียวจบ
3.1 สารานุกรมหลายเล่มจบ (Multi-Volume Works)
สารานุกรมประเภทนี้บางครั้งนิยมเรียกว่า สารานุกรมประเภทชุด (Set) เป็นสารานุกรมที่มีทั้งประเภทสารานุกรมทั่วไปและสารานุกรมเฉพาะวิชา ครอบคลุมทั้งสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่และสารานุกรมสำหรับเยาวชน
3.2 สารานุกรมเล่มเดียวจบ (Single- Volume Encyclopedias)
สารานุกรมเล่มเดียวจบเป็นสารานุกรมที่ให้ข้อเท็จจริงอย่างย่อๆ บทความมีขนาดกะทัดรัด เหมาะสำหรับใช้ตอบคำถามที่ต้องการคำตอบทันทีได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประหยัด บทความมักจะจัดเรียงตามลำดับตัวอักษรแบบพจนานุกรม ไม่มีดรรชนีสำหรับค้นเรื่อง ในสารานุกรมเล่มเดียวจบจะมีบทความโดยเฉลี่ยประมาณ 15,000 ถึง 25,000 บทความ


ที่มา http://guru.sanook.com/pedia/topic

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่1

สารนิเทศเพื่อการเรียนรู้ รศ.จุมพจน์ วนิชกุล โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
***เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดน***

พจนานุกรม(Dictionaries)
พจนานุกรมเป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำ และวลี เรียบเรียงไว้ตามลำดับอักษร ให้ตัวสะกดที่ถูกต้อง การอ่านออกเสียง ชนิดของคำความหมาย หรือคำจำกัดความของคำ ประวัติของคำ วิธีใช้คำ ตัวย่อ คำเหมือน คำพ้อง คำที่มีความหมายตรงข้าม
ลักษณะของพจนานุกรม
1. ตัวสะกดที่ถูกต้อง 2. การอ่านออกเสียง 3. ความหมายของคำ คำจำกัดความ 4. ชนิดของคำ เช่น คำนาม สรรพนาม ฯลฯ 5. ประวัติที่มาของคำ รากศัพท์ เช่น เป็นคำที่มีรากศัพท์มากจากภาษาใด 6. การใช้คำ ตัวอย่างการแต่งประโยค 7. คำพ้อง คำตรงข้าม 8. ตัวย่อต่าง ๆ 9. บางเล่มมีประวัติบุคคลสำคัญด้วย 10. มีภาพประกอบตามความจำเป็น
ความสำคัญของพจนานุกรม
พจนานุกรมมีความสำคัญเพราะเป็นแหล่งอ้างอิง หรือคู่มือที่ช่วยในการเลือกใช้ถ้อยคำในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่เป็นพื้นฐานและจำเป็นมากที่สุด ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียนในการพูดและการเขียนจะใช้ถ้อยคำในลักษณะที่แตกต่างกัน เพื่อให้ผู้พูดและผู้เขียนสื่อความหมายได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ เป็นแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือสูงสุด
ประเภทของพจนานุกรม
1. การแบ่งประเภทตามทัศนะของวิลเลี่ยม เอ. แคทส์ (William A. Katz) แบ่งเป็น7 ประเภท คือ
1.1 พจนานุกรมภาษาอังกฤษทั่วไป (General English language dictionaries) เป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษ บรรจุคำเป็นจำนวนมาก 1.2 พจนานุกรมฉบับปกอ่อน (Paperback dictionaries) บรรจุคำไม่เกิน 3,000 - 55,000 คำ ได้รับความนิยมมาก ราคาไม่แพง 1.3 พจนานุกรมเชิงประวัติ (Historical dictionaries) เป็นพจนานุกรมที่บรรจุคำแสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของคำ ตั้งแต่สมัยอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน 1.4 พจนานุกรมรากศัพท์ (Etymological dictionaries) เป็นพจนานุกรมที่มีลักษณะคล้าย ๆ พจนานุกรมเชิงประวัติ แต่พจนานุกรมประเภทนี้จะเน้นการวิเคราะห์คำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอื่นๆ 1.5 พจนานุกรมภาษาต่างประเทศ (Foreign language dictionaries) เป็นพจนานุกรมสองภาษา ที่แปลความหมายจากคำภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง 1.6 พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject dictionaries) เป็นพจนานุกรมที่อธิบายความหมายของคำในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น 1.7 พจนานุกรมอื่น ๆ ("Other" dictionries) เป็นพจนานุกรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำในด้านอื่น ๆ
2. การแบ่งประเภทตามทัศนะของ เค็นเนธ เอ.วิทเดคเคอร์ (Kenneth A. Whittaker) แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
2.1 พจนานุกรมภาษาอังกฤษทั่วไป (General language dictionaries) พจนานุกรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำโดยทั่วไป ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน 2.2 พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject dictionaries) พจนานุกรมเฉพาะวิชาให้ความรู้เกี่ยวกับคำในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง อาชีพใดอาชีพหนึ่ง หรือวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งโดยเฉพาะ 2.3พจนานุกรมเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ (Special purpose dictionries) รวบรวมคำที่ไม่สามารถค้นหาได้จากพจนานุกรมทางภาษาทั่วไป 2.4 หนังสือรวมคำสุภาษิต (Books of quotations) หนังสือรวมคำสุภาษิต เป็นหนังสืออ้างอิงที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมสุภาษิตในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือของนักเขียนคนใดคนหนึ่ง 2.5 ดรรชนีในหนังสือ (Concordances) ดรรชนีประเภทนี้เป็นการนำเอาหัวข้อสำคัญในหนังสือมาจัดทำดรรชนี และเรียงไว้ตามลำดับอักษร เป็นดรรชนีที่ละเอียด
3. การแบ่งประเภทตามทัศนะของสอางศรี พรสุวรรณ และเพชราภรณ์ พิทยารัฐ แบ่งตามเนื้อเรื่องและวัตถุประสงค์แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
3.1 พจนานุกรมภาษาอังกฤษทั่วไป (General language dictionaries) เป็นพจนานุกรมที่ใช้รายการคำและความหมายของคำเป็นภาษาเดียว 3.2 พจนานุกรมอื่น ๆ ("Other" dictionaries) หมายถึง พจนานุกรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ 3.3 พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject dictionaries) พจนานุกรมที่ใช้สำหรับค้นคว้าความหมายของคำในสาขาวิชาหนึ่ง อาชีพใดอาชีพหนึ่ง หรือวิชาชีพหนึ่งโดยเฉพาะ
วิธีใช้พจนานุกรม
1. พิจารณาดูว่าคำที่ต้องการค้นนั้น ต้องการข้อเท็จจริงทางด้านภาษา ทางด้านเฉพาะวิชาหรือทางด้านอื่น ๆ 2. เลือกใช้พจนานุกรมให้ถูกกับข้อเท็จจริงที่ต้องการ 3. อ่านข้อแนะนำการใช้ แล้วจึงลงมือค้นหาคำตอบ
ที่มา:
สุนิตย์ เย็นสบาย. (2543). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง.
พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:ศิลปาบรรณาคาร.