วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

ยานยนต์ไฮบริด

ยานยนต์ไฮบริดควาหมายของยานยนต์ไฮบริด
ไฮบริด (อังกฤษ: hybrid) คือ ระบบการทำงานของเครื่องยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สองระบบทำงานร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วหมายถึงการทำงานร่วมกันระหว่างระบบสันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงทำงานร่วมกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้า





ประเภทของระบบไฮบริดมี3ประเภทคือ

1.ระบบไฮบริดแบบ อนุกรม (Series Hybrid)
2.ระบบไฮบริดแบบ คู่ขนา(ParallelHybrid)
3.ระบบไฮบริดแบบอนุกรม/คู่ขนาน

BMWสปอร์ตไฮบริด ดีเซล”800 นิวตันเมตรจิบ26กม



ส่วนประกอบของรถยนต์ไฮบริด

รถไฮบริดประกอบด้วยส่วนต่างๆดังต่อไปนี้
1.เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
2.ถังน้ำมัน ในรถยนต์ไฮบริด
3.มอเตอร์ไฟฟ้า
4.แบตเตอรี่
5.เจนเนอร์เรเตอร์

ขั้นตอนการทำงานของระบบไฮบริด

แบ่งการทำงานของระบบไฮบริดเป็น 7 สถานะ ดังนี้

1. เริ่มต้นขับเคลื่อน

2. การขับขี่ด้วยความเร็วต่ำ/ปานกลาง


3. การขับขี่ด้วยความเร็วปกติ


4. การขับขี่ความเร็วปกติ / การชาร์จแบตเตอรี่


5. การเร่งเครื่องยนต์


6. การลดความเร็ว / การผลิตพลังงานเพิ่ม


7. เมื่อหยุดอยู่กับที่






ข้อดีของระบบไฮบริด

-ประหยัดพลังงาน


-ลดมลพิษ


-อัตราเร่งราบรื่นไม่ติดขัด


-ไร้เสียงรบกวนขณะขับขี่



ข้อได้เปรียบของระบบไฮบริด

- ประหยัดน้ำมัน เพราะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน


- ออกตัวดี ด้วยแรงบิดสูงสุดของมอเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น


- ไม่มีมลภาวะเสียงและไอเสีย เพราะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน


- ประหยัดน้ำมันกว่ารถยนต์ในรุ่นเทียบเท่ากัน- ลดการสูญเสียพลังงาน


- มลภาวะต่ำทั้งเสียงและไอเสีย- อัตราเร่งสุด- ปลอดภัยในการเร่งแซง


- เก็บพลังงานที่ปกติจะสูญเสียไป ไว้ในแบตเตอรี่


- ลดมลภาวะจากไอเสีย เพราะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน


- เสียงเงียบ- ประหยัดน้ำมัน เพราะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน


- ไม่มีมลภาวะจากเสียงและไอเสีย



วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่13

ดรรชนี เป็นสิ่งพิมพ์ที่รวบรวมรายชื่อบทความทางวิชาการ ที่จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารหรือหนังสือพิมพ์ต่างๆ ดรรชนีแต่ละรายการจะให้รายละเอียดต่างๆที่สามารถสืบค้นเพื่อเข้าถึงบทความที่ต้องการได้ ได้แก่ ชื่อผุ้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ชื่อหนังสือพิมพ์ที่ลงเรื่องนั้นๆ ปีที่ ฉบับที่ วัน เดือน ปี ของวารสาร ปละเสขหน้าที่ลงบทความ จัดเรียงตามลำดับ ชื่อผู้เขียนบทความ หรือชื่อหัวเรื่อง ดรรชนีวารสารมักนิยมทำในรูปวารสาร เพื่อให้ ดรรชนีที่ทำขึ้นมีความเป็นปัจจุบัน หนังสืออ้างอิงประเภทดรรชนี มีลักษณะและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากดรรชนีท้ายเล่มเพราะหนังสืออ้างอิงประเภทดรรชนีมีการพิมพ์เป็นเล่นต่างหาก ให้สำหรับค้นหาบทความที่ต้องการจากวารสารและหนังสือพิมพ์ ส่วนดรรชนีท้ายเล่มเป็นรายการคำหรือข้อความสำคัญที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาของหนังสือ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาคำหรือข้อความที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ประเภทของดรรชนีวารสาร แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1 ดรรชนีทั่วไป เป็นดรรชนีที่ไม่จำกัดขอบเขตวิชา ใช้ค้นบทความในสาขาวิชาต่างๆจากวารสารทั่วไปและวารสารทางวิชาการ เช่น Reader's Guide to Periodical Literature เป็นต้น 2 ดรรชนีวารสารเฉพาะวิชา จัดทำขึ้นเพื่อใช้ค้นเรื่องในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยเฉพาะ เช่น Social Sciences and Humanities Index 3 ดรรชนีวารสารเฉพาะชื่อ จัดทำขึ้นจากวารสารชื่อใดชื่อหนึ่งเท่านั้น 4 ดรรชนีวารสารที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเอง มักทำในรูปของบัตรดรรชนีวารสารหรือฐานข้อมูล 5 ดรรชนีรวมเรื่อง เป็นดรรชนีค้นหาบทความในหนังสือรวมเรื่อง ซึ่งอาจเขียนโดยบุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เช่น Index to Song Books 6 ดรรชนีหนังสือพิมพ์ เป็นดรรชนีที่ใช้ค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกับข่าว บทความ ปีที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เช่น ดรรชนีหนังสือพิมพ์ไทย






การใช้ดรรชนีจะต้องวิเคราะห์ว่าบทความที่ต้องการนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร หรือมีข้อมูลว่า ผู้แต่งบทความ ชื่ออะไร หรือบทความนั้นมีชื่อเรื่องว่าอะไร ข้อมูลที่ใช้ค้นอาจจะเป็นชื่อบทความ หัวเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หรือชื่อเรื่อง เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็สามารถสืบค้นจากดรรชนีหัวเรื่อง ดรรชนีผู้แต่ง หรือดรรชนีชื่อเรื่อง เพื่อเข้าถึงสิ่งพิมพ์ที่ลงบทความนั้นๆได้ ทั้งนี้ต้องให้ประเภทของชื่อที่ต้องการค้นกับดรรชนีที่ใช้ค้นเป็นประเภทเดียวกัน


ตัวอย่างหนังสือ ดรรชนี


ดรรชนี: ดรรชนีวารสารไทย 2537 – 2539. กรุงเทพฯ : สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์, 2543. เป็นดรรชนีวารสาร ซึ่งจัดทำดรรชนีจากบทความวารสารวิชาการสังคมศาสตร์ ซึ่งพิพ์เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2533 – 2539 จำนวน 175 ชื่อ แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ดรรชนีเรียงตามหัวเรื่อง (Subject Index) รายชื่อวารสารที่ทำดรรชนี (List of Periodicals indexed) และดรรชนีเรียงตามชื่อผู้แต่ง (Author Index) ให้รายละเอียดรายการดรรชนีดังนี้ ชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ วันเดือนปี และเลขหน้า นอกจานี้ดรรชนีบางรายการจะให้รายละเอียดที่เป้นประโยชน์เกี่ยวกับบทความ ได้แก่ ภาพประกอบ ตาราง แผนที่ แผนภูมิ รวมทั้งหมายเหตุข้อความ โดยลงรายละเอียดดังกล่าว ไว้หลังเลขหน้า
ที่มาhttp://www.lib.buu.ac.th/tutorial/ref/index4_8.html

ข่าวประจำสัปดาห์ที่12

คุ่มือเป็นหนังสือที่ให้สารสนเทศเกี่ยวกับวิธีทำหรือปฏิบัติสิ่งต่างๆอย่างๆไร โดยสรุปเนื้อหาของเรื่องหรือสาขาวิชานั้นไว้ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆได้ทุกเรื่อง แต่เนื้อหาจะเฉพาะเจาะจงและเจาะลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ประเภทของคู่มือแบ่งออกเป็น2ประเภทคือ 1 คู่มือปฏิบัติกิจกรรมทั่วๆไป เป็นคู่มือที่ช่วยให้ทราบเรื่องการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การออกแบบและบำรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย งานอดิเรก นันทนาการ การสังคมและสมาคม เป็นต้น 2 คู่มือปฏิบัติการกิจกรรมเฉพาะสาขาวิชา ใช้ประกอบในการศึกษาค้นคว้า ปฏิบัติการต่างๆในแต่ละสาขา ที่ไม่ใช่ตำรา ลักษณะสารสนเทศจะเป็นสรุปย่อความรู้ที่ได้ศึกษาเสร็จสิ้นแล้วมากกว่าจะเป็นความรู้ที่เป้นความก้าวหน้าในปัจจุบัน




ควรสำรวจเนื้อหาที่ต้องการจากหนังสือคู่มือโดยใช้วิธีเดียวกับหนังสืออ้างอิงอื่นๆ คือ ตรวจสอบจากสารบัญและดรรชนี ส่วนการเรียบเรียงจะเป็นระบบง่ายต่อการใช้ มักมีภาพประกอบเสมอ

ตัวอย่างหนังสือ คู่มือ

รีดเดอร์ส ไดเจสท์. เคล็ดลับน่ารู้คู่บ้านและครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. ริสเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศ ไทย): กรุงเทพฯ, 2544. เป็นหนังสือคู่มือเกี่ยวกับ การใช้ชีวิตภายในบ้านให้อยู่อย่างมีความสุข ภายในเล่มประกอบด้วย 6 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ จัดระบบชีวิตในบ้าน เรื่องน่ารู้ภายในบ้าน งานนอกบ้าน เรื่องใกล้ตัว อาหารและโภชนาการ ปรับแต่งบ้านให้สวยงามยิ่งขึ้น ภายในเล่ม มีภาพประกอบที่น่าสนใจ มีดัชนี เพื่อใช้ในการสืบค้น ในส่วนท้ายของเล่ม

ที่มาhttp://www.lib.buu.ac.th/tutorial/ref/index4_9.html

ข่าวประจำสัปดาห์ที่11

เป็นสรุปสาระสำคัญของบทความ หนังสือ งานวิจัยปละทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆให้สั้นลงอย่างครบถ้วนตามประเด็นที่สำคัญของเนื้อหาอาจจะมีการวิจารณ์หรือการประเมินค่าไว้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านประหยัดเวลาในการเลือกอ่านฉบับจริง และเป็นการช่วยทบทวนหรือสำรวจผลงานย้อนหลังในเรื่องที่นักวิจัยสนใจได้เป็นอย่างดี





สำรวจขอบเขตของสาระสังเขปหรือบัทคัดย่อที่ต้องการ โดยอ่านจากชื่อเรื่องและคำนำ และต้องทราบวิธีการจัดทำและเรียบเรียง สาระสังเขป บางชื่อจะไม่ให้รายละเอียดมากนัก จึงจำเป็นต้องอ่านจากฉบับจริง ส่วนบางชื่อจะสรุปแง่มุมที่สำคัญอย่างครบถ้วน สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ทันทีี


ตัวอย่างหนังสือ สาระสังเขป

สาระสังเขป : Facts at your Fingertips Facts at your Fingertips. Ready Digest : Sydney. เป็นหนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับความรู้และความเป็นจริงในโลก ซึ่งเป็นการอธิบายเพียงย่อๆ ให้น่าสนใจมากขึ้น ประกอบด้วยเรื่องทั้งหมด 9 เรื่อง ได้แก่ The universe and our plnaet, Life on Earth, The human body, The history of mankind, People and nations, Culture and entertainment, The global ecomomy, Science and invention, และ Ready reference แต่ละเรื่องก็จะประกอบไปด้วยเรื่องย่อยมากมาย และมีรูปเล่มที่น่าสนใจ วิธีการสืบค้นจะมีดัชนีอยู่ท้ายเล่ม และมี Thumb index คั่นในแต่ละเรื่อง
ที่มาhttp://www.lib.buu.ac.th/tutorial/ref/index4_10.html

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 10


หนังสืออ้างอิง - Presentation Transcript
หนังสืออ้างอิง
ความหมาย หนังสือที่ให้เรื่องราวข้อเท็จจริง ต่าง ๆ แก่ผู้ใช้ มีการเรียงลำดับอย่างเป็นระบบ และมีเครื่องมือช่วยค้นที่ดี ทำให้สะดวกและรวดเร็วในการค้น เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิจึงให้ข้อมูลที่ถูกต้อง สมบูรณ์และเชื่อถือได้ ใช้ค้นคว้าหรืออ่านเพียงบางตอน ไม่ต้องอ่านตลอดทั้งเล่ม
ลักษณะของหนังสืออ้างอิง
มีวิธีการเรียบเรียงเนื้อหาที่เป็นระบบระเบียบ
มีวิธีการเขียนที่กระชับ จบในตัวเองทุกเรื่อง
มีขนาดใหญ่ หนา หรือมีหลายเล่มจบ
รวบรวมความรู้หลายประเภท
ให้ความรู้อย่างกว้าง ๆ
หายาก ราคาแพง
มีสัญลักษณ์ อ หรือ R หรือ Ref ไม่ให้ยืมออก
ประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง
ช่วยให้ค้นคว้ารวดเร็วขึ้น
ให้ ความรู้และ ข้อเท็จจริง
ส่งเสริมให้รู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง
ประเภทของหนังสืออ้างอิง
1. ให้สารสนเทศที่ต้องการโดยตรง * พจนานุกรม * สารานุกรม * หนังสือรายปี * หนังสือคู่มือ * นามานุกรม * หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ * อักขรานุกรมชีวประวัติ * สิ่งพิมพ์รัฐบาล
ประเภทของหนังสืออ้างอิง
2. ให้สารสนเทศที่เกี่ยวกับแหล่ง * หนังสือบรรณานุกรม * หนังสือดรรชนีวารสาร
3. หนังสือวิชาการทั่วไปที่มีคุณค่าและเนื้อหา ที่เหมาะสม ( Borderline Book)
หลักเกณฑ์การใช้หนังสืออ้างอิง
1. เมื่อต้องการคำตอบความรู้อย่างสั้น ๆ หรือต้องการชื่อหนังสือหรือบทความ
2. วินิจฉัยว่าควรค้นจากหนังสือประเภทใด
3. ถ้าต้องการสารสนเทศเกี่ยวกับสาขาวิชาใด ให้ค้นจากหนังสืออ้างอิงเฉพาะวิชานั้น
พจนานุกรม (Dictionaries) หนังสือที่ ให้ความรู้เกี่ยวกับคำ เช่น ชนิดของคำ ตัวสะกด การอ่านออกเสียง ความหมายของคำ คำพ้อง คำตรงข้าม อักษรย่อ และสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับคำ
การแบ่งประเภทพจนานุกรม
แบ่งประเภทตามจำนวนภาษา
แบ่งประเภทตามเนื้อหา
แบ่งประเภทตามขนาด
แบ่งประเภทตามจำนวนภาษา
1. พจนานุกรมภาษาเดียว
2. พจนานุกรมสองภาษา
3. พจนานุกรมหลายภาษา แบ่งประเภทตามเนื้อหา แบ่งประเภทตามขนาด
1. ประเภททั่วไป
2. เฉพาะวิชา
การใช้พจนานุกรม
เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคำ
เป็นคำศัพท์เฉพาะวิชาใดวิชาหนึ่ง
หรือคำทั่วไป
ควรอ่านวิธีใช้แต่ละเล่ม
ดูที่ภาคผนวก
www.royin.go.th พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
สารานุกรม (Encyclopedia) หนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เป็นเรื่อง ๆ ที่เป็นความรู้พื้นฐานทั่วไป - ให้รายละเอียดอย่างสมบูรณ์ - ให้รายละเอียด อย่างคราว ๆ

การแบ่งประเภทสารานุกรม
1. แบ่งตามขนาด
1.1 สารานุกรมหลายเล่มจบ
1.2 สารานุกรมเล่มเดียวจบ
2. แบ่งตามเนื้อหาสาระ
2.1 สารานุกรมประเภททั่วไป
2.2 สารานุกรมเฉพาะวิชา
การใช้สารานุกรม
1. ต้องการเกี่ยวกับเรื่องอะไร
2. จะค้นได้จากสาขาใด
3. ค้นเฉพาะวิชา
4. ค้นจากด รร ชนี เรื่อง ( subject index)
5. จัด เรียงลำดับตามอักษรของเรื่อง
หนังสือรายปี (Yearbooks) หนังสือที่รวบรวมเรื่องราว สถิติ ข้ อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมาอย่างสั้นๆ โดยไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ หนังสือรายปีถือเป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องประเภทหนึ่ง มีประโยชน์ในการอ้างอิง

ประเภทหนังสือรายปี
1. หนังสือรายปีฉบับเพิ่มเติม
2. สมพัตสร (Almanac
3. รายงานประจำปี
การใช้หนังสือรายปี
ต้องการสารสนเทศที่ทันสมัย จำนวนสถิติ
เรื่องที่ต้องการอยู่ในหนังสือ รายปีประเภทใด
อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionary) หนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชีวประวัติ บุคคลสำคัญในสาขาวิชาต่าง ๆ - ชีวิตส่วนตัว - ตำแหน่งหน้าที่การงาน - ผลงาน ที่ดีเด่นของบุคคล

ประเภทอักขรานุกรมชีวประวัติ 1. ชีวประวัติบุคคลทั่วไป 2. ชีวประวัติของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 3. ชีวประวัติผู้ที่มีอาชีพเดียวกันหรือ สนใจเรื่องเดียวกัน
การใช้อักขรานุกรมชีวประวัติ 1. ต้องการทราบเกี่ยวกับชีวประวัติบุคคล 2. ตรวจสอบว่าเป็นใคร ชาติใด อาชีพ อะไร มีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นต้น 3. เลือกหนังสือที่น่าจะมีชีวประวัติของบุคคลนั้น
นามานุกรม (Directories) หนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชื่อของบุคคล องค์กร หน่วยงานราชการต่าง ๆ - อธิบายชื่อ - สถานที่อยู่ - อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ (Geographical Sources) หนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชื่อ ทางภูมิศาสตร์ - ตำแหน่งที่ตั้ง - ระยะทาง - ภาพประกอบ
หนังสืออ้างอิงภูมิศาสตร์ 1. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ (Gazetteer) 2. หนังสือนำเที่ยว (Guide Books) 3. หนังสือแผนที่ (Atlases)

หนังสือคู่มือ (Handbooks) หนังสือที่รวบรวมความรู้ข้อเท็จจริงหลายอย่างที่เกี่ยวกับวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น - หนังสือคู่มือวิชาเคมี - หนังสือคู่มือวิชาคณิตศาสตร์

สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publication) * หนังสือหรือเอกสารที่รัฐบาล หน่วยงานราชการ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ * หนังสือหรือเอกสารอื่น ๆ ที่พิมพ์โดยใช้ เงินรัฐบาล

หนังสือบรรณานุกรม (Bibliography) สิ่งพิมพ์ที่รวบรวมรายชื่อหนังสือหรือบทความที่ตีพิมพ์ โดยมีวิธีการจัดทำและเรียบเรียงให้สะดวกในการใช้

หนังสือดรรชนีวารสาร (Periodical Index) เป็นคู่มือที่ใช้ค้นหาบทความที่ต้องการจาก วารสารต่าง ๆ - รวบรวมบทความที่ตีพิมพ์ - จัดเรียบเรียงตาม ชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ หัวเรื่อง

หนังสือธรรมดาจัดเป็นหนังสืออ้างอิง (Boarderline book)
สาส์นสมเด็จ
ประชุมพงศาวดาร
ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ
พระราชประวัติ
ราชกิจจานุเบ ก ษา
ที่มาhttp://www.slideshare.net/Suriyapong/ss-546926

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 9

หนังสือธรรมดาจัดเป็นหนังสืออ้างอิง (Borderline Book)
ห้องสมุดบางแห่งอาจนำหนังสือที่มีลักษณะและเนื้อหาทั่วไปมาจัดทำเป็นหนังสืออ้างอิงตามความจำเป็นของแต่ละที่ หนังสือกลุ่มนี้อาจมีชื่อเรียกประเภทแตกต่างกันไป เช่น หนังสือคาบเกี่ยว หนังสือคาบเส้น หรือเรียกทับศัพท์ว่า หนังสือบอร์ดเดอร์ไลน์ หนังสือในกลุ่มนี้ได้แก่
11.1 ประชุมพงศาวดาร เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับพงศาวดาร ตำนานต่าง ๆ เรื่องราวของชาติไทย และจดหมายเหตุ
11.2 ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยที่ใช้สืบต่อกันมา
11.3 สาส์นสมเด็จ เป็นหนังสือรวมลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีโต้ตอบระหว่างกัน ซึ่งเป็นความรู้มากมายหลายด้าน เช่น โบราณคดี วรรณคดี ประวัติศาสตร์ การปกครอง ศิลปวัฒนธรรม ชีวประวัติ ศาสนา เป็นต้น
11.4 ราชกิจจานุเบกษา เป็นวารสารที่ตีพิมพ์กฎหมายซึ่งรัฐบาลประกาศใช้ อันได้แก่ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ประกาศ กฎกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ
11.5 พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท
ที่มาhttp://www.dek-d.com/board/view.php?id=1197526