วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

ยานยนต์ไฮบริด

ยานยนต์ไฮบริดควาหมายของยานยนต์ไฮบริด
ไฮบริด (อังกฤษ: hybrid) คือ ระบบการทำงานของเครื่องยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สองระบบทำงานร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วหมายถึงการทำงานร่วมกันระหว่างระบบสันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงทำงานร่วมกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้า





ประเภทของระบบไฮบริดมี3ประเภทคือ

1.ระบบไฮบริดแบบ อนุกรม (Series Hybrid)
2.ระบบไฮบริดแบบ คู่ขนา(ParallelHybrid)
3.ระบบไฮบริดแบบอนุกรม/คู่ขนาน

BMWสปอร์ตไฮบริด ดีเซล”800 นิวตันเมตรจิบ26กม



ส่วนประกอบของรถยนต์ไฮบริด

รถไฮบริดประกอบด้วยส่วนต่างๆดังต่อไปนี้
1.เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
2.ถังน้ำมัน ในรถยนต์ไฮบริด
3.มอเตอร์ไฟฟ้า
4.แบตเตอรี่
5.เจนเนอร์เรเตอร์

ขั้นตอนการทำงานของระบบไฮบริด

แบ่งการทำงานของระบบไฮบริดเป็น 7 สถานะ ดังนี้

1. เริ่มต้นขับเคลื่อน

2. การขับขี่ด้วยความเร็วต่ำ/ปานกลาง


3. การขับขี่ด้วยความเร็วปกติ


4. การขับขี่ความเร็วปกติ / การชาร์จแบตเตอรี่


5. การเร่งเครื่องยนต์


6. การลดความเร็ว / การผลิตพลังงานเพิ่ม


7. เมื่อหยุดอยู่กับที่






ข้อดีของระบบไฮบริด

-ประหยัดพลังงาน


-ลดมลพิษ


-อัตราเร่งราบรื่นไม่ติดขัด


-ไร้เสียงรบกวนขณะขับขี่



ข้อได้เปรียบของระบบไฮบริด

- ประหยัดน้ำมัน เพราะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน


- ออกตัวดี ด้วยแรงบิดสูงสุดของมอเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น


- ไม่มีมลภาวะเสียงและไอเสีย เพราะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน


- ประหยัดน้ำมันกว่ารถยนต์ในรุ่นเทียบเท่ากัน- ลดการสูญเสียพลังงาน


- มลภาวะต่ำทั้งเสียงและไอเสีย- อัตราเร่งสุด- ปลอดภัยในการเร่งแซง


- เก็บพลังงานที่ปกติจะสูญเสียไป ไว้ในแบตเตอรี่


- ลดมลภาวะจากไอเสีย เพราะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน


- เสียงเงียบ- ประหยัดน้ำมัน เพราะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน


- ไม่มีมลภาวะจากเสียงและไอเสีย



วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่13

ดรรชนี เป็นสิ่งพิมพ์ที่รวบรวมรายชื่อบทความทางวิชาการ ที่จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารหรือหนังสือพิมพ์ต่างๆ ดรรชนีแต่ละรายการจะให้รายละเอียดต่างๆที่สามารถสืบค้นเพื่อเข้าถึงบทความที่ต้องการได้ ได้แก่ ชื่อผุ้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ชื่อหนังสือพิมพ์ที่ลงเรื่องนั้นๆ ปีที่ ฉบับที่ วัน เดือน ปี ของวารสาร ปละเสขหน้าที่ลงบทความ จัดเรียงตามลำดับ ชื่อผู้เขียนบทความ หรือชื่อหัวเรื่อง ดรรชนีวารสารมักนิยมทำในรูปวารสาร เพื่อให้ ดรรชนีที่ทำขึ้นมีความเป็นปัจจุบัน หนังสืออ้างอิงประเภทดรรชนี มีลักษณะและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากดรรชนีท้ายเล่มเพราะหนังสืออ้างอิงประเภทดรรชนีมีการพิมพ์เป็นเล่นต่างหาก ให้สำหรับค้นหาบทความที่ต้องการจากวารสารและหนังสือพิมพ์ ส่วนดรรชนีท้ายเล่มเป็นรายการคำหรือข้อความสำคัญที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาของหนังสือ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาคำหรือข้อความที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ประเภทของดรรชนีวารสาร แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1 ดรรชนีทั่วไป เป็นดรรชนีที่ไม่จำกัดขอบเขตวิชา ใช้ค้นบทความในสาขาวิชาต่างๆจากวารสารทั่วไปและวารสารทางวิชาการ เช่น Reader's Guide to Periodical Literature เป็นต้น 2 ดรรชนีวารสารเฉพาะวิชา จัดทำขึ้นเพื่อใช้ค้นเรื่องในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยเฉพาะ เช่น Social Sciences and Humanities Index 3 ดรรชนีวารสารเฉพาะชื่อ จัดทำขึ้นจากวารสารชื่อใดชื่อหนึ่งเท่านั้น 4 ดรรชนีวารสารที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเอง มักทำในรูปของบัตรดรรชนีวารสารหรือฐานข้อมูล 5 ดรรชนีรวมเรื่อง เป็นดรรชนีค้นหาบทความในหนังสือรวมเรื่อง ซึ่งอาจเขียนโดยบุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เช่น Index to Song Books 6 ดรรชนีหนังสือพิมพ์ เป็นดรรชนีที่ใช้ค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกับข่าว บทความ ปีที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เช่น ดรรชนีหนังสือพิมพ์ไทย






การใช้ดรรชนีจะต้องวิเคราะห์ว่าบทความที่ต้องการนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร หรือมีข้อมูลว่า ผู้แต่งบทความ ชื่ออะไร หรือบทความนั้นมีชื่อเรื่องว่าอะไร ข้อมูลที่ใช้ค้นอาจจะเป็นชื่อบทความ หัวเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หรือชื่อเรื่อง เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็สามารถสืบค้นจากดรรชนีหัวเรื่อง ดรรชนีผู้แต่ง หรือดรรชนีชื่อเรื่อง เพื่อเข้าถึงสิ่งพิมพ์ที่ลงบทความนั้นๆได้ ทั้งนี้ต้องให้ประเภทของชื่อที่ต้องการค้นกับดรรชนีที่ใช้ค้นเป็นประเภทเดียวกัน


ตัวอย่างหนังสือ ดรรชนี


ดรรชนี: ดรรชนีวารสารไทย 2537 – 2539. กรุงเทพฯ : สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์, 2543. เป็นดรรชนีวารสาร ซึ่งจัดทำดรรชนีจากบทความวารสารวิชาการสังคมศาสตร์ ซึ่งพิพ์เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2533 – 2539 จำนวน 175 ชื่อ แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ดรรชนีเรียงตามหัวเรื่อง (Subject Index) รายชื่อวารสารที่ทำดรรชนี (List of Periodicals indexed) และดรรชนีเรียงตามชื่อผู้แต่ง (Author Index) ให้รายละเอียดรายการดรรชนีดังนี้ ชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ วันเดือนปี และเลขหน้า นอกจานี้ดรรชนีบางรายการจะให้รายละเอียดที่เป้นประโยชน์เกี่ยวกับบทความ ได้แก่ ภาพประกอบ ตาราง แผนที่ แผนภูมิ รวมทั้งหมายเหตุข้อความ โดยลงรายละเอียดดังกล่าว ไว้หลังเลขหน้า
ที่มาhttp://www.lib.buu.ac.th/tutorial/ref/index4_8.html

ข่าวประจำสัปดาห์ที่12

คุ่มือเป็นหนังสือที่ให้สารสนเทศเกี่ยวกับวิธีทำหรือปฏิบัติสิ่งต่างๆอย่างๆไร โดยสรุปเนื้อหาของเรื่องหรือสาขาวิชานั้นไว้ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆได้ทุกเรื่อง แต่เนื้อหาจะเฉพาะเจาะจงและเจาะลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ประเภทของคู่มือแบ่งออกเป็น2ประเภทคือ 1 คู่มือปฏิบัติกิจกรรมทั่วๆไป เป็นคู่มือที่ช่วยให้ทราบเรื่องการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การออกแบบและบำรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย งานอดิเรก นันทนาการ การสังคมและสมาคม เป็นต้น 2 คู่มือปฏิบัติการกิจกรรมเฉพาะสาขาวิชา ใช้ประกอบในการศึกษาค้นคว้า ปฏิบัติการต่างๆในแต่ละสาขา ที่ไม่ใช่ตำรา ลักษณะสารสนเทศจะเป็นสรุปย่อความรู้ที่ได้ศึกษาเสร็จสิ้นแล้วมากกว่าจะเป็นความรู้ที่เป้นความก้าวหน้าในปัจจุบัน




ควรสำรวจเนื้อหาที่ต้องการจากหนังสือคู่มือโดยใช้วิธีเดียวกับหนังสืออ้างอิงอื่นๆ คือ ตรวจสอบจากสารบัญและดรรชนี ส่วนการเรียบเรียงจะเป็นระบบง่ายต่อการใช้ มักมีภาพประกอบเสมอ

ตัวอย่างหนังสือ คู่มือ

รีดเดอร์ส ไดเจสท์. เคล็ดลับน่ารู้คู่บ้านและครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. ริสเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศ ไทย): กรุงเทพฯ, 2544. เป็นหนังสือคู่มือเกี่ยวกับ การใช้ชีวิตภายในบ้านให้อยู่อย่างมีความสุข ภายในเล่มประกอบด้วย 6 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ จัดระบบชีวิตในบ้าน เรื่องน่ารู้ภายในบ้าน งานนอกบ้าน เรื่องใกล้ตัว อาหารและโภชนาการ ปรับแต่งบ้านให้สวยงามยิ่งขึ้น ภายในเล่ม มีภาพประกอบที่น่าสนใจ มีดัชนี เพื่อใช้ในการสืบค้น ในส่วนท้ายของเล่ม

ที่มาhttp://www.lib.buu.ac.th/tutorial/ref/index4_9.html

ข่าวประจำสัปดาห์ที่11

เป็นสรุปสาระสำคัญของบทความ หนังสือ งานวิจัยปละทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆให้สั้นลงอย่างครบถ้วนตามประเด็นที่สำคัญของเนื้อหาอาจจะมีการวิจารณ์หรือการประเมินค่าไว้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านประหยัดเวลาในการเลือกอ่านฉบับจริง และเป็นการช่วยทบทวนหรือสำรวจผลงานย้อนหลังในเรื่องที่นักวิจัยสนใจได้เป็นอย่างดี





สำรวจขอบเขตของสาระสังเขปหรือบัทคัดย่อที่ต้องการ โดยอ่านจากชื่อเรื่องและคำนำ และต้องทราบวิธีการจัดทำและเรียบเรียง สาระสังเขป บางชื่อจะไม่ให้รายละเอียดมากนัก จึงจำเป็นต้องอ่านจากฉบับจริง ส่วนบางชื่อจะสรุปแง่มุมที่สำคัญอย่างครบถ้วน สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ทันทีี


ตัวอย่างหนังสือ สาระสังเขป

สาระสังเขป : Facts at your Fingertips Facts at your Fingertips. Ready Digest : Sydney. เป็นหนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับความรู้และความเป็นจริงในโลก ซึ่งเป็นการอธิบายเพียงย่อๆ ให้น่าสนใจมากขึ้น ประกอบด้วยเรื่องทั้งหมด 9 เรื่อง ได้แก่ The universe and our plnaet, Life on Earth, The human body, The history of mankind, People and nations, Culture and entertainment, The global ecomomy, Science and invention, และ Ready reference แต่ละเรื่องก็จะประกอบไปด้วยเรื่องย่อยมากมาย และมีรูปเล่มที่น่าสนใจ วิธีการสืบค้นจะมีดัชนีอยู่ท้ายเล่ม และมี Thumb index คั่นในแต่ละเรื่อง
ที่มาhttp://www.lib.buu.ac.th/tutorial/ref/index4_10.html

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 10


หนังสืออ้างอิง - Presentation Transcript
หนังสืออ้างอิง
ความหมาย หนังสือที่ให้เรื่องราวข้อเท็จจริง ต่าง ๆ แก่ผู้ใช้ มีการเรียงลำดับอย่างเป็นระบบ และมีเครื่องมือช่วยค้นที่ดี ทำให้สะดวกและรวดเร็วในการค้น เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิจึงให้ข้อมูลที่ถูกต้อง สมบูรณ์และเชื่อถือได้ ใช้ค้นคว้าหรืออ่านเพียงบางตอน ไม่ต้องอ่านตลอดทั้งเล่ม
ลักษณะของหนังสืออ้างอิง
มีวิธีการเรียบเรียงเนื้อหาที่เป็นระบบระเบียบ
มีวิธีการเขียนที่กระชับ จบในตัวเองทุกเรื่อง
มีขนาดใหญ่ หนา หรือมีหลายเล่มจบ
รวบรวมความรู้หลายประเภท
ให้ความรู้อย่างกว้าง ๆ
หายาก ราคาแพง
มีสัญลักษณ์ อ หรือ R หรือ Ref ไม่ให้ยืมออก
ประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง
ช่วยให้ค้นคว้ารวดเร็วขึ้น
ให้ ความรู้และ ข้อเท็จจริง
ส่งเสริมให้รู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง
ประเภทของหนังสืออ้างอิง
1. ให้สารสนเทศที่ต้องการโดยตรง * พจนานุกรม * สารานุกรม * หนังสือรายปี * หนังสือคู่มือ * นามานุกรม * หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ * อักขรานุกรมชีวประวัติ * สิ่งพิมพ์รัฐบาล
ประเภทของหนังสืออ้างอิง
2. ให้สารสนเทศที่เกี่ยวกับแหล่ง * หนังสือบรรณานุกรม * หนังสือดรรชนีวารสาร
3. หนังสือวิชาการทั่วไปที่มีคุณค่าและเนื้อหา ที่เหมาะสม ( Borderline Book)
หลักเกณฑ์การใช้หนังสืออ้างอิง
1. เมื่อต้องการคำตอบความรู้อย่างสั้น ๆ หรือต้องการชื่อหนังสือหรือบทความ
2. วินิจฉัยว่าควรค้นจากหนังสือประเภทใด
3. ถ้าต้องการสารสนเทศเกี่ยวกับสาขาวิชาใด ให้ค้นจากหนังสืออ้างอิงเฉพาะวิชานั้น
พจนานุกรม (Dictionaries) หนังสือที่ ให้ความรู้เกี่ยวกับคำ เช่น ชนิดของคำ ตัวสะกด การอ่านออกเสียง ความหมายของคำ คำพ้อง คำตรงข้าม อักษรย่อ และสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับคำ
การแบ่งประเภทพจนานุกรม
แบ่งประเภทตามจำนวนภาษา
แบ่งประเภทตามเนื้อหา
แบ่งประเภทตามขนาด
แบ่งประเภทตามจำนวนภาษา
1. พจนานุกรมภาษาเดียว
2. พจนานุกรมสองภาษา
3. พจนานุกรมหลายภาษา แบ่งประเภทตามเนื้อหา แบ่งประเภทตามขนาด
1. ประเภททั่วไป
2. เฉพาะวิชา
การใช้พจนานุกรม
เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคำ
เป็นคำศัพท์เฉพาะวิชาใดวิชาหนึ่ง
หรือคำทั่วไป
ควรอ่านวิธีใช้แต่ละเล่ม
ดูที่ภาคผนวก
www.royin.go.th พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
สารานุกรม (Encyclopedia) หนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เป็นเรื่อง ๆ ที่เป็นความรู้พื้นฐานทั่วไป - ให้รายละเอียดอย่างสมบูรณ์ - ให้รายละเอียด อย่างคราว ๆ

การแบ่งประเภทสารานุกรม
1. แบ่งตามขนาด
1.1 สารานุกรมหลายเล่มจบ
1.2 สารานุกรมเล่มเดียวจบ
2. แบ่งตามเนื้อหาสาระ
2.1 สารานุกรมประเภททั่วไป
2.2 สารานุกรมเฉพาะวิชา
การใช้สารานุกรม
1. ต้องการเกี่ยวกับเรื่องอะไร
2. จะค้นได้จากสาขาใด
3. ค้นเฉพาะวิชา
4. ค้นจากด รร ชนี เรื่อง ( subject index)
5. จัด เรียงลำดับตามอักษรของเรื่อง
หนังสือรายปี (Yearbooks) หนังสือที่รวบรวมเรื่องราว สถิติ ข้ อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมาอย่างสั้นๆ โดยไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ หนังสือรายปีถือเป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องประเภทหนึ่ง มีประโยชน์ในการอ้างอิง

ประเภทหนังสือรายปี
1. หนังสือรายปีฉบับเพิ่มเติม
2. สมพัตสร (Almanac
3. รายงานประจำปี
การใช้หนังสือรายปี
ต้องการสารสนเทศที่ทันสมัย จำนวนสถิติ
เรื่องที่ต้องการอยู่ในหนังสือ รายปีประเภทใด
อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionary) หนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชีวประวัติ บุคคลสำคัญในสาขาวิชาต่าง ๆ - ชีวิตส่วนตัว - ตำแหน่งหน้าที่การงาน - ผลงาน ที่ดีเด่นของบุคคล

ประเภทอักขรานุกรมชีวประวัติ 1. ชีวประวัติบุคคลทั่วไป 2. ชีวประวัติของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 3. ชีวประวัติผู้ที่มีอาชีพเดียวกันหรือ สนใจเรื่องเดียวกัน
การใช้อักขรานุกรมชีวประวัติ 1. ต้องการทราบเกี่ยวกับชีวประวัติบุคคล 2. ตรวจสอบว่าเป็นใคร ชาติใด อาชีพ อะไร มีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นต้น 3. เลือกหนังสือที่น่าจะมีชีวประวัติของบุคคลนั้น
นามานุกรม (Directories) หนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชื่อของบุคคล องค์กร หน่วยงานราชการต่าง ๆ - อธิบายชื่อ - สถานที่อยู่ - อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ (Geographical Sources) หนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชื่อ ทางภูมิศาสตร์ - ตำแหน่งที่ตั้ง - ระยะทาง - ภาพประกอบ
หนังสืออ้างอิงภูมิศาสตร์ 1. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ (Gazetteer) 2. หนังสือนำเที่ยว (Guide Books) 3. หนังสือแผนที่ (Atlases)

หนังสือคู่มือ (Handbooks) หนังสือที่รวบรวมความรู้ข้อเท็จจริงหลายอย่างที่เกี่ยวกับวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น - หนังสือคู่มือวิชาเคมี - หนังสือคู่มือวิชาคณิตศาสตร์

สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publication) * หนังสือหรือเอกสารที่รัฐบาล หน่วยงานราชการ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ * หนังสือหรือเอกสารอื่น ๆ ที่พิมพ์โดยใช้ เงินรัฐบาล

หนังสือบรรณานุกรม (Bibliography) สิ่งพิมพ์ที่รวบรวมรายชื่อหนังสือหรือบทความที่ตีพิมพ์ โดยมีวิธีการจัดทำและเรียบเรียงให้สะดวกในการใช้

หนังสือดรรชนีวารสาร (Periodical Index) เป็นคู่มือที่ใช้ค้นหาบทความที่ต้องการจาก วารสารต่าง ๆ - รวบรวมบทความที่ตีพิมพ์ - จัดเรียบเรียงตาม ชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ หัวเรื่อง

หนังสือธรรมดาจัดเป็นหนังสืออ้างอิง (Boarderline book)
สาส์นสมเด็จ
ประชุมพงศาวดาร
ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ
พระราชประวัติ
ราชกิจจานุเบ ก ษา
ที่มาhttp://www.slideshare.net/Suriyapong/ss-546926

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 9

หนังสือธรรมดาจัดเป็นหนังสืออ้างอิง (Borderline Book)
ห้องสมุดบางแห่งอาจนำหนังสือที่มีลักษณะและเนื้อหาทั่วไปมาจัดทำเป็นหนังสืออ้างอิงตามความจำเป็นของแต่ละที่ หนังสือกลุ่มนี้อาจมีชื่อเรียกประเภทแตกต่างกันไป เช่น หนังสือคาบเกี่ยว หนังสือคาบเส้น หรือเรียกทับศัพท์ว่า หนังสือบอร์ดเดอร์ไลน์ หนังสือในกลุ่มนี้ได้แก่
11.1 ประชุมพงศาวดาร เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับพงศาวดาร ตำนานต่าง ๆ เรื่องราวของชาติไทย และจดหมายเหตุ
11.2 ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยที่ใช้สืบต่อกันมา
11.3 สาส์นสมเด็จ เป็นหนังสือรวมลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีโต้ตอบระหว่างกัน ซึ่งเป็นความรู้มากมายหลายด้าน เช่น โบราณคดี วรรณคดี ประวัติศาสตร์ การปกครอง ศิลปวัฒนธรรม ชีวประวัติ ศาสนา เป็นต้น
11.4 ราชกิจจานุเบกษา เป็นวารสารที่ตีพิมพ์กฎหมายซึ่งรัฐบาลประกาศใช้ อันได้แก่ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ประกาศ กฎกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ
11.5 พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท
ที่มาhttp://www.dek-d.com/board/view.php?id=1197526

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่8

อักขรานุกรมชีวประวัติสร้างเมื่อ 12-01-2007 โดย kookaii
อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionaries)
คือ หนังสืออ้างอิงที่รวบรวมชีวประวัติบุคคลสำคัญ โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรชื่อเจ้าของประวัติแต่ละรายการจะให้รายละเอียด เกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิดและปีตาย (ถ้าตายแล้ว) ภูมิลำเนา การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่การงาน และผลงานที่สำคัญ เป็นต้น
หัวข้อ
ประเภทของอักขรานุกรมชีวประวัติ
ประเภทของอักขรานุกรมชีวประวัติ
ประเภทของหนังสืออักขรานุกรมชีวประวัติแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. อักขรานุกรมชีวประวัติบุคคลทั่วไป(Universal Biographical Dictionry) เป็นหนังสือรวบรวมชีวประวัติของบุคคลสำคัญโดยไม่คำนึงถึงชาติ ศาสนา ลัทธิการเมืองและอาชีพ
2. อักขรานุกรมชีวประวัติของบุคคลในชาติหรือภูมิภาค (National or Regional Biographical Dictionry) เป็นหนังสือรวบรวมชีวประวัติของบุคคลที่มีชื่อเสียงของประเทศใดประเทศหนึ่งหรือภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งไม่จำกัดช่วงสมัยที่มีชีวิตอยู่ ไม่จำกัดอาชีพและเชื้อชาติ
3. อักขรานุกรมชีวประวัติบุคคลที่มีอาชีพเดียวกัน (Professional Biographical Dictionry) เป็นหนังสือรวมชีวประวัติของบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่มีชิอเสียงมนสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น[กลับหัวข้อหลัก]
วิธีใช้หนังสือ อักขรานุกรมชีวประวัติ
ิ(1)พิจารณาว่าชีวปะวัติบุคคลที่ต้องการทราบชีวประวัติเป็นบุคคลกลุ่มใด เช่น กลุ่มที่ยังมีชีวิติอยู่ กลุ่มที่เสียชีวิตแล้ว หรือ กลุ่มเชื้อชาติศาสนาและอาชีพ
(2)เลือกใช้อักขรานุกรมให้ตรงกับกลุ่มบุคคลที่ต้องการค้น
(3)ค้นที่อักษรชื่อหรือนามสกุลเจ้ของชีวประวัติ เช่นเดียวกับการค้นพจนานุกรม โดยอ่านคำนำ และวิธีใช้หนังสือ
ที่มาhttp://www.lib.buu.ac.th/tutorial/ref/index4_4.html

ข่าวประจำสัปดาห์ที่7



หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้ ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ ชื่อประเทศ เมือง แม่น้ำ ภูเขา มหาสมุทร เป็นต้น
ประเภทของหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ แบ่งด้เป็น 2 ประเภท คือ
อักขรานุกรมทางภูมิศาสตร์ (Gazetteer)
มีลักษณะคล้ายพจนานุกรม รวบรวมชื่อและสถานที่ต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ โดยให้ข้อเท็จจริงสั้นๆ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษร ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อที่ถูกต้อง (ตัวสะกด) คำอ่าน สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้ง เส้นแวง ลักษณะ หรือชนิดของสถานที่ทางภูมิศาสตร์ พร้อมคำอธิบายสั้นๆ
หนังสือนำเที่ยว (Guidebook)
เป็นหนังสือคู่มือนักท่องเที่ยว จัดเป็นหนังสือเสริมอักขรานุกรมทางภูมิศาสตร์ ให้ความรู้เจาะจงเฉพาะสถานที่ คือให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศ ภูมิภาค เมือง ในด้านสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สภาพเศรษฐกิจและสังคม เช่นที่ตั้ง เส้นทางคมนาคม แผนที่ ตัวเมือง ภูมิอากาศ ที่พัก ค่าใช้จ่าย สถานที่สำคัญ ฯลฯ
1 หนังสืออักขรานุกรมทางภูมิศาสตร์ ใช้วิธีค้นเช่นเดียวกับการค้น พจนานุกรมเนื่องจากเรียงคำ (ชื่อทางภูมิศาสตร์) ตามลำดับอักษรแบบเดียวกัน การใช้อักษรกำกับเล่ม และคำกำกับหน้าจะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น
2 หนังสือนำเที่ยว ให้สารบัญและดรรชนีช่วยค้นหาข้อมูลที่ต้องการ
3 หนังสือแผนที่ แผนที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษาของแผนที่ (Map language) มีสัญลักษณ์พิเศษที่ใช้เป็นตัวแทนของลักษณะธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา เป็นต้น และลักษณะที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เมือง ทางหลวง เป็นต้น ดังนั้นก่อนใช้ จึงควรศึกษา รายละเอียดที่สำคัญดังนี้
(1) ศึกษาคำนำหรือบทนำเพื่อทราบวิธีเรียบเรียงและวิธีใช้หนังสือ
(2)ศึกษามาตรส่วนที่ใช้ในหนังสือ เพื่อช่วยให้ทราบระยะทางที่แท้จริงในแผนที่
(3)ศึกษาสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทนรายละเอียดของภูมิประเทศ
(4) ใช้ดรรชนีท้ายเล่ม เพื่อเป็นแนวสืบค้นให้เข้าถึงข้อมูลได้โดยเร็ว

ที่มา http://www.lib.buu.ac.th/tutorial/ref/index4_5.html



วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 6

นามานุกรม (Directories)

นามานุกรม คือ หนังสือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อบุคคล สถานที่หรือหน่วยงานต่าง ๆ จัดเรียงตามลำดับอักษรของชื่อนั้น ๆ โดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ สกุล ที่อยู่ ตำแหน่งหน้าที่และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ถ้าเป็นหน่วยงานจะบอกชื่อสถานที่ตั้ง ปีที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ ฯลฯ นามานุกรมบางครั้งอาจเรียกว่า ทำเนียบนาม

นามานุกรม แบ่งออกได้หลายประเภท คือ

1. นามานุกรมท้องถิ่น เป็นนามานุกรมที่จัดทำขึ้นโดยแยกตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์เขตนครหลวง

2. นามานุกรมของหน่วยงานหรือสถาบันต่าง ๆ เป็นนามานุกรมที่หน่วยงานหรือสถาบันต่าง ๆ จัดทำขึ้น เช่น ทำเนียบวัด ทำเนียบโรงเรียน นามานุกรมห้องสมุด

3. นามานุกรมในสาขาวิชาชีพ เป็นนามานุกรมของสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ หรือรายชื่อผู้ประกอบอาชีพเดียวกัน เช่น ทำเนียบนักเขียนไทย นามานุกรมนักดนตรีไทย ฯลฯ

4. นามานุกรมเพื่อการค้าและธุรกิจ ได้แก่ รายชื่อบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ จัดทำเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยหวังประโยชน์ทางการค้าและธุรกิจ

นามานุกรมที่ควรรู้จัก

1.คู่มือทำเนียบข้าราชการไทย โดย ข่าวสารทางธุรกิจและวิจัย

2.สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์

3.ทำเนียบโรงงานอุตสาหกรรมโดยกระทรวงอุตสาหกรรม

4.The Siam Directory : The Book of Facts & Figures โดย Consecmer International Limited.

5.Thailand National Directory

ที่มา : www.lib.ru.ac.th/knowledge/is103/les_05_learn01.html

E-BOOKS

E-BOOKS




link e-books
Hybrid click
link e-books Hybrid click

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5

สิ่งพิมพ์รัฐบาล

สิ่งพิมพ์รัฐบาล
(Government Publications)สิ่งพิมพ์รัฐบาล หมายถึง หนังสือ วารสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ตลอดจนโสตทัศนวัสดุต่างๆ และฐานข้อมูล ที่หน่วยงานราชการได้จัดทำขึ้น หรือเป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์เพื่อจำหน่าย หรือแจกจ่ายเป็นบริการ ให้เปล่าแก่หน่วยงานอื่นๆ ตลอดจนประชาชนที่สนใจ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ผลงานของทางราชการ สิ่งพิมพ์รัฐบาลที่พบเห็นอยู่เสมอๆ ได้แก่
1. รายงานประจำปี รายงานการค้นคว้าวิจัย รายงานการบริหารงาน
2. วารสารและรายงานการประชุม รายงานของคณะกรรมการต่างๆ
3. รายงานสถิติ รายงานการดูแล
4. ร่างกฎหมายและมติต่างๆ กฎหมาย คู่มือ ตำรา
5. งบประมาณ ประมวลรายได้
6. ทำเนียบนาม บรรณานุกรม ดรรชนี สาระสังเขป

ประเภทของสิ่งพิมพ์รัฐบาลแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. บันทึกผลการบริหารงาน ของรัฐบาล หรือหน่วยงานราชการแต่ละแห่ง เช่น รายงานการประชุม รายงานประจำปี
2. รายงานการค้นคว้าวิจัย (Research Report) ของหน่วยงานรัฐบาล หรือได้รับทุนในการค้นคว้าวิจัยจากรัฐบาล
3. ความรู้ทั่วไป ในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งอยู่ในความสนใจของประชาชน
วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของสิ่งพิมพ์รัฐบาล
1. เพื่อเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐบาลให้ ประชาชนได้ทราบ
2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ความรู้ของหน่วยงานรัฐบาล เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชน
3. เพื่อแถลงนโยบาย การดำเนินงานให้เป็นที่รับรู้ และเข้าใจอย่างถูกต้อง
4. เป็นสื่อกลางประสานความเข้าใจระหว่างประชาชนกับรัฐบาล
5. เพื่อให้ประชาชนได้ทราบประกาศกฎหมายใหม่ๆ ข้อบังคับ และระเบียบต่างๆ ของทางราชการ
ประโยชน์และวิธีใช้
1. เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) ที่ให้หลักฐาน ข้อมูล สถิติและเรื่องราวทางราชการที่เชื่อถือได้
2. เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการต่างๆ และข้อเท็จจริงที่ทันสมัย
3. การใช้สิ่งพิมพ์รัฐบาล ควรพิจารณาประเภท และลักษณะของรูปแบบของสิ่งพิมพ์ให้ตรงกับความประสงค์
4. พิจารณาการเรียบเรียง วิธีใช้ และใช้สารบัญ ดรรชนี ประกอบการค้นหา เรื่องราว
การจัดหมวดหมู่และลงรายการงาน มีการจัดกลุ่มหนังสือโดยพิจารณาเนื้อหาสาระของหนังสือเป็นสำคัญ มีการกำหนดสัญลักษณ์ที่ถูกกำหนดขึ้นนี้จะเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งของหนังสือในห้องสมุดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1. รับหนังสือ Work Sheet จากงานทรัพยากรสารสนเทศ
2. ลงทะเบียนหนังสือพร้อมติด Barcode (ปรากฎเลขทะเบียน)
3. จัดหมวดหมู่และลงรายการในแบบบันทึกรายการข้อมูล (Work Sheet) โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
3.1 กด F2 เพื่อตรวจสอบข้อมูลรายการบรรณานุกรม
3.2 ตรวจสอบแล้วว่ามีในห้องสมุดให้ต่อ Copy3.3 ตรวจสอบแล้วว่าไม่มีข้อมูล บรรณารักษ์ให้เลขหมู่และหัวเรื่อง
4. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล (HORIZON)
5. พิมพ์สติกเกอร์แสดงเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ปีที่พิมพ์และฉบับ (ถ้ามี) และติดลงที่สันหนังสือห่างจากขอบล่าง 2 นิ้ว
6. ติดบัตรกำหนดส่งที่ปกหลังด้านใน
7. จัดเตรียมหนังสือใหม่เพื่อออกบริการ

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4

รายงานประจำปี

ข้อมูลที่นำไปใส่ในรายงานประจำปี โดยส่วนใหญ่ จะสั้น กะทัดรัด และได้ใจความมากที่สุด ภายในกรอบของช่วงปีที่มีการจัดทำรายงานประจำปี มีคำถามว่า ทำอย่างไรกันบ้าง? คำตอบคือ
1. ควรเสนอข้อมูลในลักษณะของการสรุปข้อมูลในแต่ละด้าน จากนั้นนำมากรุ๊ปเป็นกลุ่ม หรือเป็นประเภท หากมีมากเกินไป ก็คำนึงถึงความกระชับมากที่สุด
2. แสดงข้อมูลในลักษณะรูปแบบของจำนวนข้อมูล ที่แสดงให้เห็นเป็นตาราง (หากข้อมูลใดที่ไม่สามารถแสดงข้อมูลจำนวนตัวเลขให้เห็นที่ชัดเจนได้ อาจจะแสดงในลักษณะของร้อยละก็ได้)
3. แสดงข้อมูลในลักษณะเปรียบเทียบเป็นรายปี โดยแสดงเป็นกราฟแท่งให้เห็นแต่ละปี
4. หากมีข้อมูลที่ไม่สามารถเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรายปีได้ ก็ให้แสดงข้อมูลเป็นสัดส่วนให้เห็น เช่น กราฟวงกลม ซึ่งลักษณะการแสดงข้อมูลในลักษณะแบบนี้ จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย
5. หากข้อมูลใดเห็นว่า มีความสำคัญ และใช้เป็นข้อมูลในการอ้างอิงเพื่อการใด การหนึ่ง ก็ให้แสดงข้อมูลไว้ในภาคผนวก ก็ได้ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนหน้าเอกสารที่มีข้อจำกัดว่า ไม่ควรมีหน้าเอกสารมากเกินไป หรืออยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารในยุคนั้น ๆ)
6. ข้อมูลใดที่ไม่มีการจัดทำมาก่อน และเกิดขึ้นในช่วงปีที่รายงาน ควรแสดงให้เห็นการพัฒนาการ การเจริญเติบโต ก็ให้นำเสนอข้อมูลในเชิงบรรยาย สรุป กระชับ หากมีภาพประกอบ ก็จะเป็นการดี
7. งานด้านใดเป็นงานที่ได้รับรางวัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชาติ หรือ นานาชาติ ก็ควรจะมีการไปติดต่อขอข้อมูลจากบุคคลผู้ที่ได้รับรางวัล พร้อมขอภาพที่เป็นลักษณะของกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย เช่น งานวิจัย การนำเสนอผลงาน หรืออื่น ๆ ที่ได้รับรางวัล
8. งานด้านใด ที่คณะ/หน่วยงานได้รับแจ้งจากหน่วยงานภายนอก หรือจากระดับมหาวิทยาลัย ว่ามีผลงานในด้านใด ที่ดี และอยู่ในอันดับต้น ๆ ก็ควรจะมีการจัดเก็บข้อมูล และใส่ไว้ในรายงานด้วย (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหาร)
9. กิจกรรมใดที่จัดเป็นกิจกรรมเด่นของคณะฯ และเคยได้รับรางวัล ก็ควรจะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นรายปี
10. การนำเสนอข้อมูลที่เป็นรูปภาพ สิ่งที่ควรคำนึงคือ คำอธิบายประกอบภาพ เช่น ชื่อกิจกรรมสถานที่ วันที่ เข้าร่วมในโครงการหรือการประชุมใด และบุคคลในภาพประกอบ ให้จัดเก็บข้อมูลที่สะดวกต่อการค้นหา เช่น นำภาพมาแสดงไว้ใน Microsoft Word แล้วเขียนคำอธิบายไว้ใต้ภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเพื่อเสนอพิจารณาคัดเลือกต่อไป
11. การจัดทำข้อมูลในแต่ละด้าน สิ่งที่สำคัญที่สุด และทำความเข้าใจร่วมกัน คือการปรับแก้ไข ที่จะมีอยู่เสมอ จนกว่ารายงานจะออกมาสมบูรณ์ที่สุด
12. ข้อมูลที่ส่งโรงพิมพ์ดำเนินการจัดพิมพ์ ควรจะมีข้อมูลชุดที่เป็นต้นฉบับเก็บไว้ที่หน่วยงานด้วย และอย่าลืมขอ File ข้อมูลจากโรงพิมพ์ด้วย เพราะการนำไปจัดพิมพ์ที่โรงพิมพ์ จะมีการใช้พิมพ์อีกโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งจุดนี้ต้องทำความตกลงกับโรงพิมพ์ก่อนเสมอ หากเราต้องการ File ข้อมูลที่สามารถแก้ไข เก็บไว้ที่หน่วยงานด้วย
13. File รูปภาพที่นำมาจัดทำต้องมีนามสกุลเป็น .JPEG

14. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดทำหนังสือรายงานประจำปี คือ การประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยงานในคณะได้รับทราบ ว่า คณะมีการจัดทำหนังสือรายงานประจำปี เพราะจะได้รับทราบร่วมกัน และช่วยเหลือข้อมูลในส่วนที่ขาดหายไป ให้รายงานประจำปีสมบูรณ์ที่สุด หากเราไม่แจ้งให้ทราบ ผู้ที่ไปติดต่อขอข้อมูล จะเกิดความลำบากใจเมื่อไปติดต่อข้อมูล เพราะความไม่เข้าใจร่วมกัน หรือบางครั้งให้ข้อมูลดิบโดยไม่ได้สรุปข้อมูลมาให้ ซึ่งจุดนี้ทำให้เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา

ที่มา : http://share.psu.ac.th/blog/method-tukta/11066

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดา์ห์ที่ 3




หนังสือประเภทนี้จัดพิมพ์เป็นรายปี รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์
บุคคลสำคัญและความก้าวหน้าของวิทยาการสาขาต่างๆในรอบปีที่ป่านมาเสนอข้อความสั้นๆในรูปของทำเนียบนาม ตารางสถิติและปฎิทินเหตุการณ์
3.1 ประเภทของหนังสือรายปี แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
3.1.1 หนังสือรายปีทั่วไป (General yearbook)
(1)หนังสือรายปีสารานุกรม (Encyclopedia yearbook)เป็นหนังสือรายปีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมเนื้อหาของสารานุกรมชุดแม่ ให้มีเนื้อหาทันสมัยอยู่เสมอ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษร เช่น Gollier's Year Book เสริมสารานุกรมชุดแม่ คือ Gollier's Encyclopedia เป็นต้น
(2)หนังสือรายปีสรุปข่าวปัจจุบัน (News Summary) ทำหน้าที่เป็นจดหมายเหตุบันทึกเหตุการณ์สำคัญด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยประมวลจากข่าวประจำวัน ตรวจสอบความถูกต้องแล้วเสนอในรูปสรุปความ ออกเป็นวารสารรายสัปดาห์ มีแฟ้มจัดเก็บและดรรชนีสำหรับค้นเนื้อเรื่องโดยละเอียด ตัวอย่างเช่น สยามจดหมายเหตุ เป็นต้น
(3)สมพัตสร (Almanac) เสนอความรู้เบ็ดเตล็ดต่างๆซึ่งเป็นข้อเท็จจริงในเรื่องทั่วๆไปอย่างสั้นๆ เหตุการณ์ในรอบปีที่ผ่านมา เรื่องราวขอประเทศต่างๆ ภัยพิบัติ สภาพภูมิศาสตร์เด่นๆ เสนอความรู้ในรูปของปฏิทินเหตุการณ์ ตารางสถิติ ทำเนียบนาม และพรรณนาความ สถติต่างๆ เชื่อถือได้เพราะมีแหล่งอ้างอิง เช่น สยามออลมาแนค และ World Almanac and Book of Facts เป็นต้น
3.1.2 หนังสือรายงานประจำปี (Subject records of progress) เป็นหนังสือรายปี ที่สมาคมทางวิชาการ องค์การ และหน่วยงานต่างๆ จัดทำเพื่อเสนอความห้าวหน้าทางวิชาการ ที่เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยของหน่วยงาน และรวมถึงการรายงานผลการปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมของหน่วยงานด้วย ได้แก่ หนังสือรายงานประจำปีของหน่วยราชการต่างๆ (อ่านต่อ...)

ที่มา : http://www.lib.buu.ac.th/tutorial/ref/index4_3.html

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2

สารานุกรม ( Encyclopedias) คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้อันเป็นพื้นฐานในทุกสาขาวิชาหรือรวบรวมความรู้ใน สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะแล้วนำมาเรียบเรียงไว้ตามลำดับอักษร เหมาะสมที่จะทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ความรู้ที่ได้จากหนังสือสารานุกรม ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือสูงได้ทันที

หัวข้อ
  • ประเภทของสารานุกรม
ประเภทของสารานุกรม

การแบ่งประเภทของสารานุกรมนั้นสามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. การแบ่งประเภทของสารานุกรมตามขอบเขตของเนื้อหาวิชา
การแบ่งในลักษณะนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารานุกรมทั่วไปและสารานุกรมเฉพาะวิชา
1.1 สารานุกรมทั่วไป (Gerneral Encyclopedias)
สารานุกรมทั่วไป ได้แก่ สารานุกรมที่รวบรวมความรู้ทุกแขนงวิชา มีทั้งให้ข้อมูลอย่างละเอียดและอย่างสังเขป อธิบายเรื่องราวเพื่อเป็นพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ทุกแขนงของมวลมนุษย์ นับตั้งแต่โบราณกาลจนกระทั่งปัจจุบัน
1.2 สารานุกรมเฉพาะวิชา ( Subject Encyclopedias)
สารานุกรมเฉพาะวิชา ได้แก่สารานุกรมที่รวบรวมความรู้วิชาใดวิชาหนึ่ง หรือรวบรวมเรื่องราวแขนงใดแขนงหนึ่งโดยเฉพาะอธิบายเรื่องราวละเอียดลึกซึ้ง กว่าสารานุกรมทั่วไป

2. การแบ่งประเภทของสารานุกรมตามระดับอายุการใช้
การแบ่งประเภทของสารานุกรม ในลักษณะนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารานุกรมสำหรับเยาวชน และสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่
2.1 สารานุกรมสำหรับเยาวชน (Encyclopedias for Children and Young Adults)
สารานุกรมสำหรับเยาวชนเป็นสารานุกรมที่จัดทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายจะเสนอ เรื่องราวในสาขาวิชาความรู้ต่างๆ โดยการอธิบายเนื้อหาวิชาโดยสังเขป ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บทความมีขนาดกะทัดรัดจบสมบูรณ์ในตัวเอง มีภาพประกอบเป็นจำนวนมาก สารานุกรมสำหรับเยาวชนมีทั้งสารานุกรมทั่วไปและสารานุกรมเฉพาะวิชา
2.2 สารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่ (Encyclopedias for Adult)
สารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่ คือ สารานุกรมที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ให้ข้อมูลที่ละเอียดและลึกซึ้งกว่าสารานุกรมสำหรับเยาวชน ใช้ภาษาที่ยากและเป็นวิชาการ บทความมักจะมีขนาดยาวเพื่อครอบคลุมเนื้อหาวิชาอย่างกว้างขวาง สารานุกรมประเภทนี้มีทั้งสารานุกรมทั่วไป และสารานุกรมเฉพาะวิชา

3. การแบ่งประเภทของสารานุกรมตามจำนวนเล่ม
การแบ่งสารานุกรมในลักษณะนี้สามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารานุกรมหลายเล่มจบ และสารานุกรมเล่มเดียวจบ
3.1 สารานุกรมหลายเล่มจบ (Multi-Volume Works)
สารานุกรมประเภทนี้บางครั้งนิยมเรียกว่า สารานุกรมประเภทชุด (Set) เป็นสารานุกรมที่มีทั้งประเภทสารานุกรมทั่วไปและสารานุกรมเฉพาะวิชา ครอบคลุมทั้งสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่และสารานุกรมสำหรับเยาวชน
3.2 สารานุกรมเล่มเดียวจบ (Single- Volume Encyclopedias)
สารานุกรมเล่มเดียวจบเป็นสารานุกรมที่ให้ข้อเท็จจริงอย่างย่อๆ บทความมีขนาดกะทัดรัด เหมาะสำหรับใช้ตอบคำถามที่ต้องการคำตอบทันทีได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประหยัด บทความมักจะจัดเรียงตามลำดับตัวอักษรแบบพจนานุกรม ไม่มีดรรชนีสำหรับค้นเรื่อง ในสารานุกรมเล่มเดียวจบจะมีบทความโดยเฉลี่ยประมาณ 15,000 ถึง 25,000 บทความ


ที่มา http://guru.sanook.com/pedia/topic

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่1

สารนิเทศเพื่อการเรียนรู้ รศ.จุมพจน์ วนิชกุล โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
***เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดน***

พจนานุกรม(Dictionaries)
พจนานุกรมเป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำ และวลี เรียบเรียงไว้ตามลำดับอักษร ให้ตัวสะกดที่ถูกต้อง การอ่านออกเสียง ชนิดของคำความหมาย หรือคำจำกัดความของคำ ประวัติของคำ วิธีใช้คำ ตัวย่อ คำเหมือน คำพ้อง คำที่มีความหมายตรงข้าม
ลักษณะของพจนานุกรม
1. ตัวสะกดที่ถูกต้อง 2. การอ่านออกเสียง 3. ความหมายของคำ คำจำกัดความ 4. ชนิดของคำ เช่น คำนาม สรรพนาม ฯลฯ 5. ประวัติที่มาของคำ รากศัพท์ เช่น เป็นคำที่มีรากศัพท์มากจากภาษาใด 6. การใช้คำ ตัวอย่างการแต่งประโยค 7. คำพ้อง คำตรงข้าม 8. ตัวย่อต่าง ๆ 9. บางเล่มมีประวัติบุคคลสำคัญด้วย 10. มีภาพประกอบตามความจำเป็น
ความสำคัญของพจนานุกรม
พจนานุกรมมีความสำคัญเพราะเป็นแหล่งอ้างอิง หรือคู่มือที่ช่วยในการเลือกใช้ถ้อยคำในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่เป็นพื้นฐานและจำเป็นมากที่สุด ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียนในการพูดและการเขียนจะใช้ถ้อยคำในลักษณะที่แตกต่างกัน เพื่อให้ผู้พูดและผู้เขียนสื่อความหมายได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ เป็นแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือสูงสุด
ประเภทของพจนานุกรม
1. การแบ่งประเภทตามทัศนะของวิลเลี่ยม เอ. แคทส์ (William A. Katz) แบ่งเป็น7 ประเภท คือ
1.1 พจนานุกรมภาษาอังกฤษทั่วไป (General English language dictionaries) เป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษ บรรจุคำเป็นจำนวนมาก 1.2 พจนานุกรมฉบับปกอ่อน (Paperback dictionaries) บรรจุคำไม่เกิน 3,000 - 55,000 คำ ได้รับความนิยมมาก ราคาไม่แพง 1.3 พจนานุกรมเชิงประวัติ (Historical dictionaries) เป็นพจนานุกรมที่บรรจุคำแสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของคำ ตั้งแต่สมัยอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน 1.4 พจนานุกรมรากศัพท์ (Etymological dictionaries) เป็นพจนานุกรมที่มีลักษณะคล้าย ๆ พจนานุกรมเชิงประวัติ แต่พจนานุกรมประเภทนี้จะเน้นการวิเคราะห์คำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอื่นๆ 1.5 พจนานุกรมภาษาต่างประเทศ (Foreign language dictionaries) เป็นพจนานุกรมสองภาษา ที่แปลความหมายจากคำภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง 1.6 พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject dictionaries) เป็นพจนานุกรมที่อธิบายความหมายของคำในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น 1.7 พจนานุกรมอื่น ๆ ("Other" dictionries) เป็นพจนานุกรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำในด้านอื่น ๆ
2. การแบ่งประเภทตามทัศนะของ เค็นเนธ เอ.วิทเดคเคอร์ (Kenneth A. Whittaker) แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
2.1 พจนานุกรมภาษาอังกฤษทั่วไป (General language dictionaries) พจนานุกรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำโดยทั่วไป ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน 2.2 พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject dictionaries) พจนานุกรมเฉพาะวิชาให้ความรู้เกี่ยวกับคำในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง อาชีพใดอาชีพหนึ่ง หรือวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งโดยเฉพาะ 2.3พจนานุกรมเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ (Special purpose dictionries) รวบรวมคำที่ไม่สามารถค้นหาได้จากพจนานุกรมทางภาษาทั่วไป 2.4 หนังสือรวมคำสุภาษิต (Books of quotations) หนังสือรวมคำสุภาษิต เป็นหนังสืออ้างอิงที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมสุภาษิตในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือของนักเขียนคนใดคนหนึ่ง 2.5 ดรรชนีในหนังสือ (Concordances) ดรรชนีประเภทนี้เป็นการนำเอาหัวข้อสำคัญในหนังสือมาจัดทำดรรชนี และเรียงไว้ตามลำดับอักษร เป็นดรรชนีที่ละเอียด
3. การแบ่งประเภทตามทัศนะของสอางศรี พรสุวรรณ และเพชราภรณ์ พิทยารัฐ แบ่งตามเนื้อเรื่องและวัตถุประสงค์แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
3.1 พจนานุกรมภาษาอังกฤษทั่วไป (General language dictionaries) เป็นพจนานุกรมที่ใช้รายการคำและความหมายของคำเป็นภาษาเดียว 3.2 พจนานุกรมอื่น ๆ ("Other" dictionaries) หมายถึง พจนานุกรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ 3.3 พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject dictionaries) พจนานุกรมที่ใช้สำหรับค้นคว้าความหมายของคำในสาขาวิชาหนึ่ง อาชีพใดอาชีพหนึ่ง หรือวิชาชีพหนึ่งโดยเฉพาะ
วิธีใช้พจนานุกรม
1. พิจารณาดูว่าคำที่ต้องการค้นนั้น ต้องการข้อเท็จจริงทางด้านภาษา ทางด้านเฉพาะวิชาหรือทางด้านอื่น ๆ 2. เลือกใช้พจนานุกรมให้ถูกกับข้อเท็จจริงที่ต้องการ 3. อ่านข้อแนะนำการใช้ แล้วจึงลงมือค้นหาคำตอบ
ที่มา:
สุนิตย์ เย็นสบาย. (2543). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง.
พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:ศิลปาบรรณาคาร.