วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 10


หนังสืออ้างอิง - Presentation Transcript
หนังสืออ้างอิง
ความหมาย หนังสือที่ให้เรื่องราวข้อเท็จจริง ต่าง ๆ แก่ผู้ใช้ มีการเรียงลำดับอย่างเป็นระบบ และมีเครื่องมือช่วยค้นที่ดี ทำให้สะดวกและรวดเร็วในการค้น เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิจึงให้ข้อมูลที่ถูกต้อง สมบูรณ์และเชื่อถือได้ ใช้ค้นคว้าหรืออ่านเพียงบางตอน ไม่ต้องอ่านตลอดทั้งเล่ม
ลักษณะของหนังสืออ้างอิง
มีวิธีการเรียบเรียงเนื้อหาที่เป็นระบบระเบียบ
มีวิธีการเขียนที่กระชับ จบในตัวเองทุกเรื่อง
มีขนาดใหญ่ หนา หรือมีหลายเล่มจบ
รวบรวมความรู้หลายประเภท
ให้ความรู้อย่างกว้าง ๆ
หายาก ราคาแพง
มีสัญลักษณ์ อ หรือ R หรือ Ref ไม่ให้ยืมออก
ประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง
ช่วยให้ค้นคว้ารวดเร็วขึ้น
ให้ ความรู้และ ข้อเท็จจริง
ส่งเสริมให้รู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง
ประเภทของหนังสืออ้างอิง
1. ให้สารสนเทศที่ต้องการโดยตรง * พจนานุกรม * สารานุกรม * หนังสือรายปี * หนังสือคู่มือ * นามานุกรม * หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ * อักขรานุกรมชีวประวัติ * สิ่งพิมพ์รัฐบาล
ประเภทของหนังสืออ้างอิง
2. ให้สารสนเทศที่เกี่ยวกับแหล่ง * หนังสือบรรณานุกรม * หนังสือดรรชนีวารสาร
3. หนังสือวิชาการทั่วไปที่มีคุณค่าและเนื้อหา ที่เหมาะสม ( Borderline Book)
หลักเกณฑ์การใช้หนังสืออ้างอิง
1. เมื่อต้องการคำตอบความรู้อย่างสั้น ๆ หรือต้องการชื่อหนังสือหรือบทความ
2. วินิจฉัยว่าควรค้นจากหนังสือประเภทใด
3. ถ้าต้องการสารสนเทศเกี่ยวกับสาขาวิชาใด ให้ค้นจากหนังสืออ้างอิงเฉพาะวิชานั้น
พจนานุกรม (Dictionaries) หนังสือที่ ให้ความรู้เกี่ยวกับคำ เช่น ชนิดของคำ ตัวสะกด การอ่านออกเสียง ความหมายของคำ คำพ้อง คำตรงข้าม อักษรย่อ และสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับคำ
การแบ่งประเภทพจนานุกรม
แบ่งประเภทตามจำนวนภาษา
แบ่งประเภทตามเนื้อหา
แบ่งประเภทตามขนาด
แบ่งประเภทตามจำนวนภาษา
1. พจนานุกรมภาษาเดียว
2. พจนานุกรมสองภาษา
3. พจนานุกรมหลายภาษา แบ่งประเภทตามเนื้อหา แบ่งประเภทตามขนาด
1. ประเภททั่วไป
2. เฉพาะวิชา
การใช้พจนานุกรม
เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคำ
เป็นคำศัพท์เฉพาะวิชาใดวิชาหนึ่ง
หรือคำทั่วไป
ควรอ่านวิธีใช้แต่ละเล่ม
ดูที่ภาคผนวก
www.royin.go.th พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
สารานุกรม (Encyclopedia) หนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เป็นเรื่อง ๆ ที่เป็นความรู้พื้นฐานทั่วไป - ให้รายละเอียดอย่างสมบูรณ์ - ให้รายละเอียด อย่างคราว ๆ

การแบ่งประเภทสารานุกรม
1. แบ่งตามขนาด
1.1 สารานุกรมหลายเล่มจบ
1.2 สารานุกรมเล่มเดียวจบ
2. แบ่งตามเนื้อหาสาระ
2.1 สารานุกรมประเภททั่วไป
2.2 สารานุกรมเฉพาะวิชา
การใช้สารานุกรม
1. ต้องการเกี่ยวกับเรื่องอะไร
2. จะค้นได้จากสาขาใด
3. ค้นเฉพาะวิชา
4. ค้นจากด รร ชนี เรื่อง ( subject index)
5. จัด เรียงลำดับตามอักษรของเรื่อง
หนังสือรายปี (Yearbooks) หนังสือที่รวบรวมเรื่องราว สถิติ ข้ อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมาอย่างสั้นๆ โดยไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ หนังสือรายปีถือเป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องประเภทหนึ่ง มีประโยชน์ในการอ้างอิง

ประเภทหนังสือรายปี
1. หนังสือรายปีฉบับเพิ่มเติม
2. สมพัตสร (Almanac
3. รายงานประจำปี
การใช้หนังสือรายปี
ต้องการสารสนเทศที่ทันสมัย จำนวนสถิติ
เรื่องที่ต้องการอยู่ในหนังสือ รายปีประเภทใด
อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionary) หนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชีวประวัติ บุคคลสำคัญในสาขาวิชาต่าง ๆ - ชีวิตส่วนตัว - ตำแหน่งหน้าที่การงาน - ผลงาน ที่ดีเด่นของบุคคล

ประเภทอักขรานุกรมชีวประวัติ 1. ชีวประวัติบุคคลทั่วไป 2. ชีวประวัติของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 3. ชีวประวัติผู้ที่มีอาชีพเดียวกันหรือ สนใจเรื่องเดียวกัน
การใช้อักขรานุกรมชีวประวัติ 1. ต้องการทราบเกี่ยวกับชีวประวัติบุคคล 2. ตรวจสอบว่าเป็นใคร ชาติใด อาชีพ อะไร มีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นต้น 3. เลือกหนังสือที่น่าจะมีชีวประวัติของบุคคลนั้น
นามานุกรม (Directories) หนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชื่อของบุคคล องค์กร หน่วยงานราชการต่าง ๆ - อธิบายชื่อ - สถานที่อยู่ - อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ (Geographical Sources) หนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชื่อ ทางภูมิศาสตร์ - ตำแหน่งที่ตั้ง - ระยะทาง - ภาพประกอบ
หนังสืออ้างอิงภูมิศาสตร์ 1. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ (Gazetteer) 2. หนังสือนำเที่ยว (Guide Books) 3. หนังสือแผนที่ (Atlases)

หนังสือคู่มือ (Handbooks) หนังสือที่รวบรวมความรู้ข้อเท็จจริงหลายอย่างที่เกี่ยวกับวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น - หนังสือคู่มือวิชาเคมี - หนังสือคู่มือวิชาคณิตศาสตร์

สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publication) * หนังสือหรือเอกสารที่รัฐบาล หน่วยงานราชการ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ * หนังสือหรือเอกสารอื่น ๆ ที่พิมพ์โดยใช้ เงินรัฐบาล

หนังสือบรรณานุกรม (Bibliography) สิ่งพิมพ์ที่รวบรวมรายชื่อหนังสือหรือบทความที่ตีพิมพ์ โดยมีวิธีการจัดทำและเรียบเรียงให้สะดวกในการใช้

หนังสือดรรชนีวารสาร (Periodical Index) เป็นคู่มือที่ใช้ค้นหาบทความที่ต้องการจาก วารสารต่าง ๆ - รวบรวมบทความที่ตีพิมพ์ - จัดเรียบเรียงตาม ชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ หัวเรื่อง

หนังสือธรรมดาจัดเป็นหนังสืออ้างอิง (Boarderline book)
สาส์นสมเด็จ
ประชุมพงศาวดาร
ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ
พระราชประวัติ
ราชกิจจานุเบ ก ษา
ที่มาhttp://www.slideshare.net/Suriyapong/ss-546926

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น