วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่8

อักขรานุกรมชีวประวัติสร้างเมื่อ 12-01-2007 โดย kookaii
อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionaries)
คือ หนังสืออ้างอิงที่รวบรวมชีวประวัติบุคคลสำคัญ โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรชื่อเจ้าของประวัติแต่ละรายการจะให้รายละเอียด เกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิดและปีตาย (ถ้าตายแล้ว) ภูมิลำเนา การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่การงาน และผลงานที่สำคัญ เป็นต้น
หัวข้อ
ประเภทของอักขรานุกรมชีวประวัติ
ประเภทของอักขรานุกรมชีวประวัติ
ประเภทของหนังสืออักขรานุกรมชีวประวัติแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. อักขรานุกรมชีวประวัติบุคคลทั่วไป(Universal Biographical Dictionry) เป็นหนังสือรวบรวมชีวประวัติของบุคคลสำคัญโดยไม่คำนึงถึงชาติ ศาสนา ลัทธิการเมืองและอาชีพ
2. อักขรานุกรมชีวประวัติของบุคคลในชาติหรือภูมิภาค (National or Regional Biographical Dictionry) เป็นหนังสือรวบรวมชีวประวัติของบุคคลที่มีชื่อเสียงของประเทศใดประเทศหนึ่งหรือภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งไม่จำกัดช่วงสมัยที่มีชีวิตอยู่ ไม่จำกัดอาชีพและเชื้อชาติ
3. อักขรานุกรมชีวประวัติบุคคลที่มีอาชีพเดียวกัน (Professional Biographical Dictionry) เป็นหนังสือรวมชีวประวัติของบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่มีชิอเสียงมนสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น[กลับหัวข้อหลัก]
วิธีใช้หนังสือ อักขรานุกรมชีวประวัติ
ิ(1)พิจารณาว่าชีวปะวัติบุคคลที่ต้องการทราบชีวประวัติเป็นบุคคลกลุ่มใด เช่น กลุ่มที่ยังมีชีวิติอยู่ กลุ่มที่เสียชีวิตแล้ว หรือ กลุ่มเชื้อชาติศาสนาและอาชีพ
(2)เลือกใช้อักขรานุกรมให้ตรงกับกลุ่มบุคคลที่ต้องการค้น
(3)ค้นที่อักษรชื่อหรือนามสกุลเจ้ของชีวประวัติ เช่นเดียวกับการค้นพจนานุกรม โดยอ่านคำนำ และวิธีใช้หนังสือ
ที่มาhttp://www.lib.buu.ac.th/tutorial/ref/index4_4.html

ข่าวประจำสัปดาห์ที่7



หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้ ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ ชื่อประเทศ เมือง แม่น้ำ ภูเขา มหาสมุทร เป็นต้น
ประเภทของหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ แบ่งด้เป็น 2 ประเภท คือ
อักขรานุกรมทางภูมิศาสตร์ (Gazetteer)
มีลักษณะคล้ายพจนานุกรม รวบรวมชื่อและสถานที่ต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ โดยให้ข้อเท็จจริงสั้นๆ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษร ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อที่ถูกต้อง (ตัวสะกด) คำอ่าน สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้ง เส้นแวง ลักษณะ หรือชนิดของสถานที่ทางภูมิศาสตร์ พร้อมคำอธิบายสั้นๆ
หนังสือนำเที่ยว (Guidebook)
เป็นหนังสือคู่มือนักท่องเที่ยว จัดเป็นหนังสือเสริมอักขรานุกรมทางภูมิศาสตร์ ให้ความรู้เจาะจงเฉพาะสถานที่ คือให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศ ภูมิภาค เมือง ในด้านสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สภาพเศรษฐกิจและสังคม เช่นที่ตั้ง เส้นทางคมนาคม แผนที่ ตัวเมือง ภูมิอากาศ ที่พัก ค่าใช้จ่าย สถานที่สำคัญ ฯลฯ
1 หนังสืออักขรานุกรมทางภูมิศาสตร์ ใช้วิธีค้นเช่นเดียวกับการค้น พจนานุกรมเนื่องจากเรียงคำ (ชื่อทางภูมิศาสตร์) ตามลำดับอักษรแบบเดียวกัน การใช้อักษรกำกับเล่ม และคำกำกับหน้าจะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น
2 หนังสือนำเที่ยว ให้สารบัญและดรรชนีช่วยค้นหาข้อมูลที่ต้องการ
3 หนังสือแผนที่ แผนที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษาของแผนที่ (Map language) มีสัญลักษณ์พิเศษที่ใช้เป็นตัวแทนของลักษณะธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา เป็นต้น และลักษณะที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เมือง ทางหลวง เป็นต้น ดังนั้นก่อนใช้ จึงควรศึกษา รายละเอียดที่สำคัญดังนี้
(1) ศึกษาคำนำหรือบทนำเพื่อทราบวิธีเรียบเรียงและวิธีใช้หนังสือ
(2)ศึกษามาตรส่วนที่ใช้ในหนังสือ เพื่อช่วยให้ทราบระยะทางที่แท้จริงในแผนที่
(3)ศึกษาสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทนรายละเอียดของภูมิประเทศ
(4) ใช้ดรรชนีท้ายเล่ม เพื่อเป็นแนวสืบค้นให้เข้าถึงข้อมูลได้โดยเร็ว

ที่มา http://www.lib.buu.ac.th/tutorial/ref/index4_5.html



วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 6

นามานุกรม (Directories)

นามานุกรม คือ หนังสือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อบุคคล สถานที่หรือหน่วยงานต่าง ๆ จัดเรียงตามลำดับอักษรของชื่อนั้น ๆ โดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ สกุล ที่อยู่ ตำแหน่งหน้าที่และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ถ้าเป็นหน่วยงานจะบอกชื่อสถานที่ตั้ง ปีที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ ฯลฯ นามานุกรมบางครั้งอาจเรียกว่า ทำเนียบนาม

นามานุกรม แบ่งออกได้หลายประเภท คือ

1. นามานุกรมท้องถิ่น เป็นนามานุกรมที่จัดทำขึ้นโดยแยกตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์เขตนครหลวง

2. นามานุกรมของหน่วยงานหรือสถาบันต่าง ๆ เป็นนามานุกรมที่หน่วยงานหรือสถาบันต่าง ๆ จัดทำขึ้น เช่น ทำเนียบวัด ทำเนียบโรงเรียน นามานุกรมห้องสมุด

3. นามานุกรมในสาขาวิชาชีพ เป็นนามานุกรมของสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ หรือรายชื่อผู้ประกอบอาชีพเดียวกัน เช่น ทำเนียบนักเขียนไทย นามานุกรมนักดนตรีไทย ฯลฯ

4. นามานุกรมเพื่อการค้าและธุรกิจ ได้แก่ รายชื่อบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ จัดทำเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยหวังประโยชน์ทางการค้าและธุรกิจ

นามานุกรมที่ควรรู้จัก

1.คู่มือทำเนียบข้าราชการไทย โดย ข่าวสารทางธุรกิจและวิจัย

2.สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์

3.ทำเนียบโรงงานอุตสาหกรรมโดยกระทรวงอุตสาหกรรม

4.The Siam Directory : The Book of Facts & Figures โดย Consecmer International Limited.

5.Thailand National Directory

ที่มา : www.lib.ru.ac.th/knowledge/is103/les_05_learn01.html

E-BOOKS

E-BOOKS




link e-books
Hybrid click
link e-books Hybrid click

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5

สิ่งพิมพ์รัฐบาล

สิ่งพิมพ์รัฐบาล
(Government Publications)สิ่งพิมพ์รัฐบาล หมายถึง หนังสือ วารสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ตลอดจนโสตทัศนวัสดุต่างๆ และฐานข้อมูล ที่หน่วยงานราชการได้จัดทำขึ้น หรือเป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์เพื่อจำหน่าย หรือแจกจ่ายเป็นบริการ ให้เปล่าแก่หน่วยงานอื่นๆ ตลอดจนประชาชนที่สนใจ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ผลงานของทางราชการ สิ่งพิมพ์รัฐบาลที่พบเห็นอยู่เสมอๆ ได้แก่
1. รายงานประจำปี รายงานการค้นคว้าวิจัย รายงานการบริหารงาน
2. วารสารและรายงานการประชุม รายงานของคณะกรรมการต่างๆ
3. รายงานสถิติ รายงานการดูแล
4. ร่างกฎหมายและมติต่างๆ กฎหมาย คู่มือ ตำรา
5. งบประมาณ ประมวลรายได้
6. ทำเนียบนาม บรรณานุกรม ดรรชนี สาระสังเขป

ประเภทของสิ่งพิมพ์รัฐบาลแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. บันทึกผลการบริหารงาน ของรัฐบาล หรือหน่วยงานราชการแต่ละแห่ง เช่น รายงานการประชุม รายงานประจำปี
2. รายงานการค้นคว้าวิจัย (Research Report) ของหน่วยงานรัฐบาล หรือได้รับทุนในการค้นคว้าวิจัยจากรัฐบาล
3. ความรู้ทั่วไป ในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งอยู่ในความสนใจของประชาชน
วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของสิ่งพิมพ์รัฐบาล
1. เพื่อเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐบาลให้ ประชาชนได้ทราบ
2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ความรู้ของหน่วยงานรัฐบาล เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชน
3. เพื่อแถลงนโยบาย การดำเนินงานให้เป็นที่รับรู้ และเข้าใจอย่างถูกต้อง
4. เป็นสื่อกลางประสานความเข้าใจระหว่างประชาชนกับรัฐบาล
5. เพื่อให้ประชาชนได้ทราบประกาศกฎหมายใหม่ๆ ข้อบังคับ และระเบียบต่างๆ ของทางราชการ
ประโยชน์และวิธีใช้
1. เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) ที่ให้หลักฐาน ข้อมูล สถิติและเรื่องราวทางราชการที่เชื่อถือได้
2. เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการต่างๆ และข้อเท็จจริงที่ทันสมัย
3. การใช้สิ่งพิมพ์รัฐบาล ควรพิจารณาประเภท และลักษณะของรูปแบบของสิ่งพิมพ์ให้ตรงกับความประสงค์
4. พิจารณาการเรียบเรียง วิธีใช้ และใช้สารบัญ ดรรชนี ประกอบการค้นหา เรื่องราว
การจัดหมวดหมู่และลงรายการงาน มีการจัดกลุ่มหนังสือโดยพิจารณาเนื้อหาสาระของหนังสือเป็นสำคัญ มีการกำหนดสัญลักษณ์ที่ถูกกำหนดขึ้นนี้จะเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งของหนังสือในห้องสมุดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1. รับหนังสือ Work Sheet จากงานทรัพยากรสารสนเทศ
2. ลงทะเบียนหนังสือพร้อมติด Barcode (ปรากฎเลขทะเบียน)
3. จัดหมวดหมู่และลงรายการในแบบบันทึกรายการข้อมูล (Work Sheet) โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
3.1 กด F2 เพื่อตรวจสอบข้อมูลรายการบรรณานุกรม
3.2 ตรวจสอบแล้วว่ามีในห้องสมุดให้ต่อ Copy3.3 ตรวจสอบแล้วว่าไม่มีข้อมูล บรรณารักษ์ให้เลขหมู่และหัวเรื่อง
4. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล (HORIZON)
5. พิมพ์สติกเกอร์แสดงเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ปีที่พิมพ์และฉบับ (ถ้ามี) และติดลงที่สันหนังสือห่างจากขอบล่าง 2 นิ้ว
6. ติดบัตรกำหนดส่งที่ปกหลังด้านใน
7. จัดเตรียมหนังสือใหม่เพื่อออกบริการ

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4

รายงานประจำปี

ข้อมูลที่นำไปใส่ในรายงานประจำปี โดยส่วนใหญ่ จะสั้น กะทัดรัด และได้ใจความมากที่สุด ภายในกรอบของช่วงปีที่มีการจัดทำรายงานประจำปี มีคำถามว่า ทำอย่างไรกันบ้าง? คำตอบคือ
1. ควรเสนอข้อมูลในลักษณะของการสรุปข้อมูลในแต่ละด้าน จากนั้นนำมากรุ๊ปเป็นกลุ่ม หรือเป็นประเภท หากมีมากเกินไป ก็คำนึงถึงความกระชับมากที่สุด
2. แสดงข้อมูลในลักษณะรูปแบบของจำนวนข้อมูล ที่แสดงให้เห็นเป็นตาราง (หากข้อมูลใดที่ไม่สามารถแสดงข้อมูลจำนวนตัวเลขให้เห็นที่ชัดเจนได้ อาจจะแสดงในลักษณะของร้อยละก็ได้)
3. แสดงข้อมูลในลักษณะเปรียบเทียบเป็นรายปี โดยแสดงเป็นกราฟแท่งให้เห็นแต่ละปี
4. หากมีข้อมูลที่ไม่สามารถเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรายปีได้ ก็ให้แสดงข้อมูลเป็นสัดส่วนให้เห็น เช่น กราฟวงกลม ซึ่งลักษณะการแสดงข้อมูลในลักษณะแบบนี้ จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย
5. หากข้อมูลใดเห็นว่า มีความสำคัญ และใช้เป็นข้อมูลในการอ้างอิงเพื่อการใด การหนึ่ง ก็ให้แสดงข้อมูลไว้ในภาคผนวก ก็ได้ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนหน้าเอกสารที่มีข้อจำกัดว่า ไม่ควรมีหน้าเอกสารมากเกินไป หรืออยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารในยุคนั้น ๆ)
6. ข้อมูลใดที่ไม่มีการจัดทำมาก่อน และเกิดขึ้นในช่วงปีที่รายงาน ควรแสดงให้เห็นการพัฒนาการ การเจริญเติบโต ก็ให้นำเสนอข้อมูลในเชิงบรรยาย สรุป กระชับ หากมีภาพประกอบ ก็จะเป็นการดี
7. งานด้านใดเป็นงานที่ได้รับรางวัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชาติ หรือ นานาชาติ ก็ควรจะมีการไปติดต่อขอข้อมูลจากบุคคลผู้ที่ได้รับรางวัล พร้อมขอภาพที่เป็นลักษณะของกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย เช่น งานวิจัย การนำเสนอผลงาน หรืออื่น ๆ ที่ได้รับรางวัล
8. งานด้านใด ที่คณะ/หน่วยงานได้รับแจ้งจากหน่วยงานภายนอก หรือจากระดับมหาวิทยาลัย ว่ามีผลงานในด้านใด ที่ดี และอยู่ในอันดับต้น ๆ ก็ควรจะมีการจัดเก็บข้อมูล และใส่ไว้ในรายงานด้วย (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหาร)
9. กิจกรรมใดที่จัดเป็นกิจกรรมเด่นของคณะฯ และเคยได้รับรางวัล ก็ควรจะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นรายปี
10. การนำเสนอข้อมูลที่เป็นรูปภาพ สิ่งที่ควรคำนึงคือ คำอธิบายประกอบภาพ เช่น ชื่อกิจกรรมสถานที่ วันที่ เข้าร่วมในโครงการหรือการประชุมใด และบุคคลในภาพประกอบ ให้จัดเก็บข้อมูลที่สะดวกต่อการค้นหา เช่น นำภาพมาแสดงไว้ใน Microsoft Word แล้วเขียนคำอธิบายไว้ใต้ภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเพื่อเสนอพิจารณาคัดเลือกต่อไป
11. การจัดทำข้อมูลในแต่ละด้าน สิ่งที่สำคัญที่สุด และทำความเข้าใจร่วมกัน คือการปรับแก้ไข ที่จะมีอยู่เสมอ จนกว่ารายงานจะออกมาสมบูรณ์ที่สุด
12. ข้อมูลที่ส่งโรงพิมพ์ดำเนินการจัดพิมพ์ ควรจะมีข้อมูลชุดที่เป็นต้นฉบับเก็บไว้ที่หน่วยงานด้วย และอย่าลืมขอ File ข้อมูลจากโรงพิมพ์ด้วย เพราะการนำไปจัดพิมพ์ที่โรงพิมพ์ จะมีการใช้พิมพ์อีกโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งจุดนี้ต้องทำความตกลงกับโรงพิมพ์ก่อนเสมอ หากเราต้องการ File ข้อมูลที่สามารถแก้ไข เก็บไว้ที่หน่วยงานด้วย
13. File รูปภาพที่นำมาจัดทำต้องมีนามสกุลเป็น .JPEG

14. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดทำหนังสือรายงานประจำปี คือ การประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยงานในคณะได้รับทราบ ว่า คณะมีการจัดทำหนังสือรายงานประจำปี เพราะจะได้รับทราบร่วมกัน และช่วยเหลือข้อมูลในส่วนที่ขาดหายไป ให้รายงานประจำปีสมบูรณ์ที่สุด หากเราไม่แจ้งให้ทราบ ผู้ที่ไปติดต่อขอข้อมูล จะเกิดความลำบากใจเมื่อไปติดต่อข้อมูล เพราะความไม่เข้าใจร่วมกัน หรือบางครั้งให้ข้อมูลดิบโดยไม่ได้สรุปข้อมูลมาให้ ซึ่งจุดนี้ทำให้เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา

ที่มา : http://share.psu.ac.th/blog/method-tukta/11066