วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่7



หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้ ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ ชื่อประเทศ เมือง แม่น้ำ ภูเขา มหาสมุทร เป็นต้น
ประเภทของหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ แบ่งด้เป็น 2 ประเภท คือ
อักขรานุกรมทางภูมิศาสตร์ (Gazetteer)
มีลักษณะคล้ายพจนานุกรม รวบรวมชื่อและสถานที่ต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ โดยให้ข้อเท็จจริงสั้นๆ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษร ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อที่ถูกต้อง (ตัวสะกด) คำอ่าน สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้ง เส้นแวง ลักษณะ หรือชนิดของสถานที่ทางภูมิศาสตร์ พร้อมคำอธิบายสั้นๆ
หนังสือนำเที่ยว (Guidebook)
เป็นหนังสือคู่มือนักท่องเที่ยว จัดเป็นหนังสือเสริมอักขรานุกรมทางภูมิศาสตร์ ให้ความรู้เจาะจงเฉพาะสถานที่ คือให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศ ภูมิภาค เมือง ในด้านสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สภาพเศรษฐกิจและสังคม เช่นที่ตั้ง เส้นทางคมนาคม แผนที่ ตัวเมือง ภูมิอากาศ ที่พัก ค่าใช้จ่าย สถานที่สำคัญ ฯลฯ
1 หนังสืออักขรานุกรมทางภูมิศาสตร์ ใช้วิธีค้นเช่นเดียวกับการค้น พจนานุกรมเนื่องจากเรียงคำ (ชื่อทางภูมิศาสตร์) ตามลำดับอักษรแบบเดียวกัน การใช้อักษรกำกับเล่ม และคำกำกับหน้าจะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น
2 หนังสือนำเที่ยว ให้สารบัญและดรรชนีช่วยค้นหาข้อมูลที่ต้องการ
3 หนังสือแผนที่ แผนที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษาของแผนที่ (Map language) มีสัญลักษณ์พิเศษที่ใช้เป็นตัวแทนของลักษณะธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา เป็นต้น และลักษณะที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เมือง ทางหลวง เป็นต้น ดังนั้นก่อนใช้ จึงควรศึกษา รายละเอียดที่สำคัญดังนี้
(1) ศึกษาคำนำหรือบทนำเพื่อทราบวิธีเรียบเรียงและวิธีใช้หนังสือ
(2)ศึกษามาตรส่วนที่ใช้ในหนังสือ เพื่อช่วยให้ทราบระยะทางที่แท้จริงในแผนที่
(3)ศึกษาสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทนรายละเอียดของภูมิประเทศ
(4) ใช้ดรรชนีท้ายเล่ม เพื่อเป็นแนวสืบค้นให้เข้าถึงข้อมูลได้โดยเร็ว

ที่มา http://www.lib.buu.ac.th/tutorial/ref/index4_5.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น